วันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

หนังสือมอบอำนาจ - อังกฤษ

อันนี้เป็นคำแปลเป็นภาษาอังกฤษของหนังสือมอบอำนาจ(Power of Attorney) ที่ได้แสดงไว้ก่อนหน้านี้ (ในเอกสารทนายลอว์เฟิร์ม 001)

-----------------------------------------------

POWER OF ATTORNEY

Made at ????? Ltd.
DATE: ___ April 2002

KNOW ALL MEN BY THESE PRESENTS that we, ????? Ltd., being registered as a Limited Company under the Civil and Commercial Code with its principal office located at ???? Road, Sub-District ????, District ?????, Province ????? represented by Mr. ????, its Authorized Director (hereinafter referred to as the “Company”) do hereby appoint Mr. AAAA and/or Mr. BBBB to be our true and lawful attorneys in our name and on one behalf do and to perform the following acts and things or as any of them as he or they shall in our interests think proper, that is to say:

1. To have the powers to notify, claim, file suit, proceed with the civil, criminal proceedings against ???? and any person who is jointly liable with ???? (hereinafter referred to as the “Debtor”) with the appropriate authorities or the competent courts and to carry to completion, dispose of any legal proceedings, withdraw the complaint, compromise or settle any suit or legal proceeding, to waive or to use the right in an appeal to the Court of Appeal and/or the Supreme Court or to re-consider the case, and to do any and all acts and things necessary and appropriate relating to the aforesaid purposes on our behalf.

2. To exercise all of our rights in all kinds of suits in Clause 1, actions and legal or equitable proceedings against the Debtor until completion including execution of judgment and to resort to any other procedure allowed by the law of Thailand whether by restraint or attachment of money or goods or property or otherwise for obtaining payment or satisfaction thereof.

3. To file a motion for an order to have a share in the attached or seized property of the Debtor by the executing officer or receiver in the proceeds of the auction sale or the disposal of the property as provided in the Civil and Commercial Code or Civil Procedure Code of Thailand.

4. To file a motion for the release of the attached or seized property.

5. To apply for or joint with others in applying for the winding-up of or rehabilitation or declaration of bankruptcy against the Debtor by a competent Court in Thailand and for that purpose to sign on our behalf all necessary petitions and other documents which may be requisite and to swear all affidavits which may be necessary and to vote on our behalf at all meetings of creditors.

6. To receive any money and documents from the Debtor or its representative or the Court officers or the Execution Department officers or the competent Land officers.

7. To appoint or remove a substitute attorney–in–fact or substitute attorneys–in– fact including appointment a lawyer or lawyers to carry any legal proceeding in the court and the said a substitute attorney–in–fact or substitute attorneys–in –fact or the said lawyer or lawyers shall have the powers in the aforesaid herein.

8. To have the powers to register of the Land Lease Agreement for Land Title Deed number Sub-District District Province and the Land Lease Agreement for Land Title Deed number Sub-District, District, Province with the Land officer at the Land Office, Province and submit the letter or any document to the Land officer or do any act and thing on behalf of Company until completion hereof.

9. In addition to the foregoing the Attorneys above named may appoint a substitute to do any act and thing on behalf of Company until completion.

And we hereby ratify and confirm and agree to ratify and confirm all that our Attorneys shall do or purport to do hereinafter.

IN WITNESS WHEREOF we have caused this instrument to be executed and the corporate seal affixed on the above mentioned place and date.

????? Ltd.

Signed___________________The Appointor

Signed___________________Attorney-in-Fact

Signed__________________ Attorney-in-Fact

Witness________________

Witness_________________

หนังสือมอบอำนาจ

อันนี้เป็นหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีครับ เป็นเอกสารสำคัญชิ้นแรกสุดที่จะต้องต้องทำขึ้น เนื่องจากเราต้องได้รับมอบอำนาจจากลูกความก่อนครับ จึงจะเริ่มทำงานแทนลูกความได้ โดยการมอบอำนาจมีหลากหลายครับแล้วแต่ว่าจะมอบให้ทำอะไร แต่ที่เห็นได้บ่อยสุดคือให้ฟ้องคดี ต้องมีการติดอากรด้วยครับ ถ้ามอบให้ทำการเดียวติด 10 บาท มอบทำการทั่วไปติด 30 บาท

----------------------------------------------

หนังสือมอบอำนาจ

ทำที่บริษัท ???? จำกัด

วันที่ ____ เมษายน 2545

โดยหนังสือฉบับนี้ บริษัท ???? จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ โดย นายกกขข ขคคค กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท (ต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัท”) ขอแต่งตั้งให้นาย 123 และ/หรือ นาย 456 เป็นผู้รับมอบอำนาจของบริษัท ให้มีอำนาจร่วมกันหรือแยกกันกระทำการแทน หรือในนามบริษัท ตามที่ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของบริษัท ตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

๑. ให้มีอำนาจในการบอกกล่าว ทวงถาม ใช้สิทธิเรียกร้อง ฟ้องร้อง ดำเนินคดีแพ่งหรืออาญากับในฐานะส่วนตัว และในฐานะ (ต่อไปนี้เรียกว่า “ลูกหนี้”) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหรือศาลที่มีเขตอำนาจจนกว่าคดีถึงที่สุด ตลอดจนดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของบริษัท เช่น การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความหรือตกลงระงับข้อพิพาทที่ฟ้องร้องกัน หรือการดำเนินกระบวนพิจารณา สละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่รวมทั้งกระทำการใด ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อการข้างต้นแทนบริษัท

๒. ให้มีอำนาจในการฟ้องร้องคดีทุกประเภท ในข้อ ๑ กระทำการหรือดำเนินการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายกับลูกหนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้น รวมทั้งการบังคับคดีตามคำพิพากษาและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งหลายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งโดยวิธีการยึดหรืออายัดเงิน สินค้า ทรัพย์สิน หรือสิ่งของใด ๆ ของลูกหนี้ตลอดจนการรับชำระหนี้หรือค่าชดเชยใด ๆ จนเป็นที่พอใจแก่บริษัท

๓. ให้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดหรืออายัดไว้โดยพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และให้มีอำนาจรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง

๔. ให้ยื่นคำร้องขอกันส่วน ขัดทรัพย์ หรือขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด

๕. ให้ยื่นคำร้องขอ หรือร่วมกับผู้อื่นร้องขอให้มีการชำระบัญชี การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หรือฟ้องคดีให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายต่อศาลที่มีเขตอำนาจ รวมทั้งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการหรือคดีล้มละลายดังกล่าว และให้มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำขอ คำร้องขอ หรือเอกสารทั้งหลายตามความจำเป็นเพื่อการดังกล่าวให้เสร็จสิ้น รวมทั้งให้การรับรองหรือยืนยันการกระทำที่จำเป็นและให้มีอำนาจออกหรือลงคะแนนเสียงแทนบริษัทในการประชุมเจ้าหนี้ด้วย

๖. ให้มีอำนาจรับเงิน สิ่งของ หรือเอกสารใด ๆ จากลูกหนี้ หรือตัวแทนของลูกหนี้ ศาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ กรมบังคับคดี สำนักงานฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หรือเจ้าพนักงานที่ดิน

๗. ให้มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้รับมอบอำนาจช่วงคนเดียวหรือหลายคน รวมทั้งการแต่งตั้งทนายความคนเดียวหรือหลายคนเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามกฎหมาย และให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงหรือทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจตามที่กำหนดไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้ได้ด้วย

๘. ให้มีอำนาจดำเนินการจดทะเบียนสัญญาเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด และสัญญาเช่าที่ดิน โฉนดเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด กับเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด ยื่นหนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่จำเป็นต่อเจ้าพนักงานที่ดิน หรือดำเนินการใด ๆ แทนบริษัทจนกว่าการดังกล่าวจะเสร็จสิ้น

๙. ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้ในฐานะตัวแทนของบริษัทได้จนกว่าการนั้น ๆ จะเสร็จสิ้น

บริษัทขอให้การรับรอง หรือให้สัตยาบันสำหรับการกระทำหรือตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้เสมือนหนึ่งบริษัทได้กระทำการด้วยตนเองทั้งสิ้น

เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนี้ บริษัทจึงได้ทำหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ขึ้นไว้โดยลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท ในวันและสถานที่ที่ระบุไว้ข้างต้น

บริษัท ???? จำกัด


ลงชื่อ__________________________ ผู้มอบอำนาจ


ลงชื่อ__________________________ ผู้รับมอบอำนาจ


ลงชื่อ__________________________ ผู้รับมอบอำนาจ


พยาน __________________________


พยาน__________________________

วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

รถยนต์หายในห้างสรรพสินค้า ! ฟ้องห้างฯให้รับผิดได้หรือไม่ ?

อันนี้ลูกความที่เป็นห้างสรรพสินค้าถูกฟ้องร้อง เลยสอบถามความเห็นถึงแนวทางป้องกัน ว่าจะทำยังไงได้หรือไม่เพื่อไม่ให้ถูกฟ้อง
-----------------------------------------------

จากกรณีที่ห้างจำเลยถูกโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ เพื่อให้ร่วมรับผิดในกรณีที่รถยนต์ของโจทก์หายไปจากลานจอดรถของห้าง สาขา?? โดยห้างมอบหมายให้สำนักงานฯ เป็นที่ปรึกษาคดีนี้ ซึ่งจะประชุมร่วมกันในวันอังคารที่ 12 นี้ นั้น
ผู้ทำบันทึกได้ดูคำฟ้อง แนวคำพิพากษาฎีกา และเอกสารต่าง ๆ ซึ่งคุณก.และคุณข.เป็นผู้รวบรวมแล้ว ใคร่ขอเสนอข้อพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการประชุมกับห้าง ดังนี้

1. ในคดีก่อน ๆ นั้น โจทก์จะฟ้องให้ผู้ประกอบกิจการค้ารับผิดในกรณีรถหายในฐานเป็นผู้รับฝากทรัพย์ ซึ่งศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานตลอดมาว่า การฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 จะต้องมีการส่งมอบทรัพย์ การที่โจทก์นำรถยนต์เข้าจอดในที่จัดไว้ให้ โดยจะเลือกจอดตรงไหนก็ได้ จอดแล้วก็เก็บกุญแจรถไว้เอง ยังไม่ถือเป็นการส่งมอบรถยนต์ ไม่เป็นการฝากทรัพย์ ส่วนการที่จำเลยจัดพนักงานไว้คอยแจกบัตรจอดรถตอนเข้าและเก็บบัตรคืนตอนนำรถออก เป็นเพียงมาตราการช่วยรักษาความปลอดภัยให้เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

2. ต่อมาอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ทำหมายเหตุไว้ท้ายคำพิพากษาฎีกาที่ 1538/2526 สรุปว่า ความรับผิดตามสัญญาอาจมีได้โดยไม่จำต้องเข้าลักษณะเอกเทศสัญญาลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ การจัดที่จอดรถยนต์ให้ แม้ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์แน่นอน แต่เป็นอันแจ้งชัดว่ามีสัญญาเหมือนกัน โจทก์จะต้องนำสืบว่ามีหนี้ระหว่างคู่สัญญาอย่างไร และเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบว่าได้กระทำการอันเป็นการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว

การตรวจบัตรที่ต้องแสดงเมื่อนำรถออกอาจเป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นหนี้ประการหนึ่งที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญา ซึ่งอาจเป็นข้อสัญญาที่เกิดโดยการตกลงชัดแจ้งหรืออาจเป็นข้อที่ถือได้ว่าตกลงกันโดยปริยายก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไปในพฤติการณ์เช่นเดียวกันนั้น จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดนอกเหนือไปจากความรับผิดทางสัญญาก็ได้

การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อ คือ บุคคลผู้กระทำการอันใดก็ตามต้องทำด้วยความระมัดระวังตามควร และจะทำเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้ การควรไม่ควรและต้องทำจนตลอดไปแค่ไหนเพียงใด ถือตามระดับความคิดเห็นของวิญญูชนทั่วไปในภาวะ วิสัยและพฤติการณ์เช่นนั้น ตามนัย ป.อ. ม.59 วรรคสี่

กรณีเรื่องนี้จึงต้องอาศัยพฤติการณ์ของผู้จัดที่จอดรถให้ผู้ที่เข้ามา จะทำโดยเก็บเงินหรือไม่ก็ตาม ควรต้องพิจารณาว่าผู้จัดที่จอดรถระมัดระวังตรวจรถที่นำออกตามควรหรือไม่ เช่นที่โจทก์อ้างถึงความบกพร่องในการตรวจบัตรของลูกจ้างของจำเลย แต่ต้องเข้าใจว่าหน้าที่ใช้ความระวังในที่นี้ไม่ใช่ว่าต้องอาศัยสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแต่ประการใด เป็นกรณีที่ต้องทำด้วยความระวังเพราะเหตุที่บุคคลเข้าทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องทำการนั้นด้วยความระมัดระวังตามควรและทำให้ตลอดดังกล่าวแล้ว โดยไม่ต้องมีสัญญาหรือฐานะผูกพันกันอยู่ก่อนแต่ประการใด หากขาดตกบกพร่องไปก็เป็นมูลความรับผิดฐานละเมิดได้

3. จากแนวความเห็นของ อ.จิตติ ดังกล่าว จึงมีการเปลี่ยนแนวการฟ้องจากสัญญาฝากทรัพย์มาเป็นฟ้องละเมิด ซึ่งศาลก็วินิจฉัยให้ว่าการที่รถหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของฝ่ายจำเลยหรือไม่ มีแนวคำพิพากษาฎีกา 2 คดี คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2540 วินิจฉัยว่าไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด และคำพิพากษาฎีกาที่ 4223/2542 วินิจฉัยว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิด

4. มีข้อน่าสังเกตว่า นอกจากโจทก์จะฟ้องฐานละเมิดแล้ว โจทก์ยังโยงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยด้วยกันว่าเป็นนายจ้างลูกจ้าง หรือตัวการตัวแทนอีกด้วย
กรณีตามคำพิพากษาฎีกาที่ 370/2540 โจทก์ฟ้องบริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ว่าลูกจ้างหรือตัวแทนของเดอะมอลล์กรุ๊ปทำละเมิด เดอะมอลล์กรุ๊ปต่อสู้ว่าลูกจ้างหรือตัวแทนไม่ได้กระทำละเมิด

ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 4223/2542 โจทก์ฟ้องบริษัทรักษาความปลอดภัยเป็นจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบการเป็นจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยทั้งสองต่างต่อสู้คดีว่าไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างหรือตัวการตัวแทนของกันและกัน ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในส่วนนี้ว่า

“เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้ผู้ไปใช้บริการที่ศูนย์การค้านั้นเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วยและโดยเฉพาะการให้บริการที่จอดรถยนต์ของศูนย์การค้าดังกล่าว”

“แม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถยนต์เอง ดูแลปิดประตูรถยนต์และเก็บกุญแจรถยนต์ไว้เอง อีกทั้งที่ด้านหลังบัตรผ่านจะมีข้อความว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ ของรถยนต์ที่เกิดขึ้นไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ต้องเสียค่าบริการก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวมาก็ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าบริเวณลานจอดรดังกล่าวนั้นจำเลยทั้งสองและเจ้าของศูนย์การค้าจัดให้มีบริการรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำเข้ามาจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่จะนำรถยนต์เข้าจอดในอาคารและขณะที่จะนำรถยนต์ออกจากอาคาร”

และ “ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถยนต์และถือบัตรผ่านจะลักลอบนำรถยนต์ออกไปไม่ได้เลย เพราะจะมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจสอบก่อน การกระทำที่ปฏิบัติก่อน ๆ มาดังกล่าวของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งสองต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดโดยพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่โดยตรงที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ออกไปจากบริเวณที่จอด หรือป้องกันการโจรกรรมด้วยการตรวจบัตรตรงช่องทางออก ซึ่งหากมีการตรวจบัตรตรงช่องทางที่รถยนต์ออกโดยเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของ ส. จะถูกลักไปได้”

5. การวินิจฉัยในเรื่องตัวการตัวแทนข้างต้น เห็นได้ว่าศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์หรือการแสดงออกต่อบุคคลทั่วไปซึ่งอาจทำให้เข้าใจได้เช่นนั้น ตามนัยตัวแทนเชิดตามมาตรา 821 แม้ในความเป็นจริงจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยตามสัญญาจ้างทำของ ซึ่งในส่วนกรณีรถหายถ้าจะต้องรับผิดก็ควรต้องเป็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ศาลฎีกาคงดูว่าจะมีสัญญาจ้างทำของกันหรือไม่เป็นเรื่องของคู่สัญญาที่ต้องไปว่ากันเอง ส่วนโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มาใช้บริการและเป็นผู้สุจริตไม่จำเป็นต้องรู้เห็นในนิติสัมพันธ์นั้นด้วยแต่อย่างใด

6. จากคำพิพากษาดังกล่าวจึงมีข้อสรุปได้ว่า ถ้าโจทก์ฟ้องเรื่องละเมิดโดยการกระทำอย่างใด ๆ จำเลยจะต้องต่อสู้ให้ได้ว่าได้กระทำด้วยความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์เพื่อป้องกันผลนั้นแล้ว ซึ่งเป็นประเด็นหลักในคดี ส่วนการต่อสู้ในเรื่องว่ามีสัญญาจ้างทำของกับบริษัทรักษาความปลอดภัย ซึ่งไม่เป็นตัวการตัวแทนจะไม่ใช่เป็นประเด็นหลัก

7. ข้อสังเกตตามคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 0000/0000 ของศาลแพ่ง
ประเด็นเรื่องความประมาทเลินเล่อ โจทก์ฟ้องถึงการกระทำที่อ้างว่าประมาทเลินเล่อเพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 1 ปล่อยให้บุคคลอื่นนำรถยนต์ของโจทก์ออกไปจากลานจอดรถ โดยมิได้ขอคืนบัตรจอดรถและมิได้ตรวจสอบหลักฐานความเป็นเจ้าของรถ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่กำหนดขึ้นเพื่อให้พนักงานรักษาความปลอดภัยปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการป้องกันการลักทรัพย์ เป็นการละเว้นหน้าที่เพื่อป้องกันการลักทรัพย์อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป

แนวการต่อสู้คดีในประเด็นนี้ต้องว่าไปตามข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งในขณะนี้เรายังไม่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และควรถือตามคำพิพากษาฎีกาที่ 370/2540 เป็นแนวทางด้วย ดังนี้

“จำเลยจัดอาคารที่จอดรถให้แก่ลูกค้า ผู้ที่นำรถเข้าไปจอดเป็นผู้หาที่จอดรถเองและเป็นผู้เก็บกุญแจไว้โดยไม่ต้องเสียค่าจอดแต่อย่างใด ส่วนการที่จำเลยจัดพนักงานไว้คอยฉีกหรือตรวจบัตรจอดรถยนต์ขณะที่นำรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถของจำเลยนั้นเป็นเพียงมาตราการช่วยรักษาความปลอดภัยให้เท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่าลูกจ้างของจำเลยปล่อยให้รถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถโดยไม่รับบัตรจอดรถคืนนั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าลูกจ้างของจำเลยได้ปล่อยรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างไร แต่กลับได้ความจากพยานจำเลยว่า วันเกิดเหตุมีรถยนต์ขอออกจากอาคารที่จอดรถไปโดยไม่มีบัตรจอดรถยนต์รวม 3 คัน ลูกจ้างจำเลยได้บันทึกทะเบียนรถยนต์ บัตรประจำตัวผู้ขับขี่หรือบัตรประจำตัวประชาชนไว้แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ปล่อยรถคันที่โจทก์รับประกันออกไป แม้แต่ ว. พยานโจทก์ก็เบิกความรับว่า เคยขับรถเข้าไปจอดในห้างของจำเลยแล้วออกไปโดยไม่คืนบัตรจอดรถ ลูกจ้างของจำเลยไม่ยอมให้ออกจนกระทั่งต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับรถให้ดูจึงจะนำรถออกไปได้ แสดงว่าลูกจ้างของจำเลยได้ตรวจสอบและปล่อยรถไปถูกต้องตามระเบียบเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์”

ประเด็นนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลย โจทก์ฟ้องจำเลย 3 คน คือ จำเลยที่ 1 (พนักงาน รปภ.) ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 (บริษัท รปภ.) ส่วนจำเลยที่ 3 (ห้าง) นั้น โจทก์ฟ้องว่า เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2546 จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ทำการรักษา………ของจำเลยที่ 3 (สาขา00) ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าและมีลานจอดรถยนต์ไว้บริการแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการของจำเลยที่ 3 ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสาขาบางบอนตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินในบริเวณดังกล่าว รายละเอียดโจทก์จะได้นำเสนอต่อไปในชั้นพิจารณาคดี

และสรุปในตอนท้ายว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลรักษาความปลอดภัยในบริเวณห้าง สาขา0000 จำเลยที่ 3 จึงเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 จึงรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดอันเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ที่ได้กระทำไปในการที่มอบหมายให้กระทำการแทนนั้น

จากคำฟ้องดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่า โจทก์พยายามเลียนคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีที่ 4223/2542 ซึ่งในคดีนั้นโจทก์ฟ้องเพียงว่าเจ้าของห้างเป็นนายจ้างหรือตัวการของบริษัทรักษาความปลอดภัยเท่านั้น โดยไม่ได้อ้างว่ามีการว่าจ้างตามสัญญาจ้างกันแต่อย่างใด แต่คดีนี้โจทก์กลับอ้างถึงการว่าจ้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาว่าจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัย แม้จะกล่าวอ้างต่อมาว่าเป็นนิติสัมพันธ์อย่างตัวการตัวแทน อันเป็นข้อกฎหมายให้ศาลต้องวินิจฉัยว่านิติสัมพันธ์ระหว่างสยามแม็คโครกับบริษัทรักษาความปลอดภัยตามสัญญาว่าจ้างที่โจทก์กล่าวอ้างนั้น เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทนหรือเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างทำของ ซึ่งผลของการรับผิดจะแตกต่างกัน กล่าวคือ
ถ้าเป็นตัวการตัวแทน ตัวการจะต้องรับผิดในผลละเมิดซึ่งตัวแทนได้กระทำไปในทางการที่มอบหมาย ตามมาตรา 427 ประกอบมาตรา 425

แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง ตามมาตรา 428

8. เนื่องจากห้างมีประกันภัยกรณีรถหายไว้ จึงควรเรียกบริษัทประกันภัยให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อผลักภาระความเสี่ยงให้แก่บริษัทประกันภัยไป
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา

ครอบครองปรปักษ์ ? ต้องรู้ตัวหรือไม่ว่าเป็นที่ดินของคนอื่น

อันนี้ ลูกความถามมาว่า ลูกความทำกำแพงรุกล้ำที่ดินข้างเคียงมากว่าสิบปีแล้ว โดยไม่รู้ว่าเป็นที่ดินของคนอื่น แต่คิดว่าเป็นที่ดินของตนเอง วันดีคืนดี ได้มีการสอบเขตวัดที่ดินจึงทราบว่ากำแพงของตนรุกล้ำที่ข้างเคียง เช่นนี้แล้วลูกความจะได้ที่ดินที่กำแพงรุกล้ำไปโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ? และถ้าต่อมาภายหลังเจ้าของที่ดินข้างเคียงขายที่ดินให้บุคคลภายนอก บุคคลภายนอกนั้นจะมาฟ้องร้องลูกความให้รื้อกำแพงได้หรือไม่ ?
--------------------------------------
ตามที่ได้รับมอบหมายให้สืบค้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองปรปักษ์ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้ว่า ฝ่ายลูกความได้สร้างรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินข้างเคียงเกินกว่า 10 ปีแล้ว ต่อมาภายหลังจากระยะเวลา 10 ปีได้ผ่านไปแล้ว เมื่อมีการรังวัดพื้นที่จึงทราบว่ามีการรุกล้ำ ดังนี้ลูกความจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร
จากการค้นพบว่ามีฎีกาที่เกี่ยวข้องดังนี้

ฎีกาที่ 477/2533 “..จำเลยครอบครองที่ดินรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382"

ลูกความได้กรรมสิทธิในที่ดินซึ่งถูกรุกล้ำนั้นแล้ว ดังนั้นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกรุกล้ำจึงไม่มีสิทธิฟ้องลูกความฐานบุกรุกและให้รื้อถอนรั้วที่สร้างขึ้นไว้ได้ รายละเอียดตามฎีกาที่แนบมาด้วย

ฎีกาที่ 265/2530 “ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนด เลขที่ 6343 ที่โจทก์ซื้อมา โดยโจทก์ได้ทราบในขณะซื้อแล้วว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ทั้งเข้าใจว่าเป็นของจำเลย เพียงแต่สำคัญผิดว่าเป็นที่ดินอยู่นอกโฉนด ดังกล่าว เช่นนี้จำเลยย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ว่าโจทก์จดทะเบียนรับโอนมาโดยไม่สุจริต”

ในกรณีนี้ที่ดินมีการทำรั้วแบ่งกั้นเป็นสัดส่วนแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินซึ่งถูกลูกความรุกล้ำนั้นขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว บุคคลภายนอกย่อมไม่สามารถอ้างว่ารับโอนมาโดยสุจริตได้ รายละเอียดตามฎีกาที่แนบมาด้วย

ถ้าลูกความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็ต้องดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อให้มีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ อย่างไรก็ตามถึงแม้ลูกความจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องเพื่อแก้ไขทางทะเบียน ผู้ที่รับโอนที่ดินไปก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ลูกความได้เพราะไม่ใช่ผู้รับโอนโดยสุจริตแล้ว ตามนัยฎีกาข้างต้น

คดีหมิ่นประมาท

เรื่องนี้ข้อเท็จจริงประมาณว่า ลูกความไปรับรู้มาว่ามีจำเลยในคดีอาญาเบิกความในศาลทำให้บริษัทลูกความเลยถามมาว่า จะทำอะไรได้บ้าง ผมก็ได้ทำบันทึกขึ้นดังต่อไปนี้ เพื่อรายงานหัวหน้าให้ทราบเพื่อนำไปใช้ตอบลูกความต่อไป
---------------------------------
ตามที่ได้มอบหมายงานให้ศึกษาว่า ถ้าจำเลยในคดีอาญาที่อ้างตนเองเป็นพยานและเบิกความต่อสู้คดีโดยพาดพิงถึงบุคคลภายนอกซึ่งการพาดพิงนั้น ทำให้บุคคลที่ถูกพาดพิงได้รับความเสียหาย ดังนี้แล้วบุคคลที่ได้รับความเสียหายนั้นจะดำเนินคดีกับจำเลยนั้นในทางอาญาและทางแพ่งได้หรือไม่? อย่างไร?
จากการศึกษาได้ผลดังนี้

ในทางอาญา
การกระทำของจำเลยนั้นในเบื้องต้น แยกพิจารณาได้เป็น 3 ฐานความผิด ดังนี้
1.การหมิ่นประมาทตาม ป.อ.มาตรา 326
2.การเบิกความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 177
3.การแจ้งความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137

โดยสามารถพิจารณาในรายละเอียดได้ดังนี้
1.การหมิ่นประมาทตาม ป.อ.มาตรา 326 ซึ่งบัญญัติว่า”ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ…” เห็นได้ชัดว่า การที่จำเลยเบิกความเช่นนั้น เป็นการทำให้ผู้ที่ถูกพาดพิงเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแล้ว

อย่างไรก็ตาม การเบิกความของจำเลยเช่นนั้นก็เป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของตัวจำเลยเองในคดีคือเพื่อต่อสู้ว่าผลร้ายที่เกิดขึ้นในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยแต่อย่างใด ซึ่งการเบิกความเช่นนี้กฎหมายได้ยกเว้นความผิดไว้ตาม ป.อ.มาตรา 331 ซึ่งบัญญัติว่า”คู่ความ หรือทนายของคู่ความซึ่งแสดงความคิดเห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท”

นั้นคือถึงแม้ว่าจำเลยจะเบิกความเท็จ ทำให้ผู้ที่ถูกพาดพิงเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็ตาม จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะ ป.อ.มาตรา 331 บัญญัติยกเว้นความผิดเอาไว้ ดังนี้แล้วการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ.มาตรา 326 จึงไม่สามารถกระทำได้

2.การเบิกความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 177 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษ…
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำต้องระวางโทษ…” ถึงแม้จะเห็นได้ชัดว่า (ยังไม่ได้พิจารณาว่าข้อความเท็จที่จำเลยเบิกนั้นจะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่) บุคคลภายนอกที่ถูกพาดพิงได้รับความเสียหายจากการเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลยก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแล้วบุคคลภายนอกดังกล่าว ไม่ใช่ ”ผู้เสียหาย” ที่จะมีอำนาจฟ้องเพื่อดำเนินคดีกับจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จนี้ได้ ตามการวินิจฉัยของศาลฎีกา ดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 4804/2531 ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 กฎหมายมุ่งคุ้มครองเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและคู่ความให้ได้รับผลในทางความยุติธรรมแห่งคดีเป็นสำคัญไม่เกี่ยวกับบุคคลนอกคดี นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยหรือไม่ โจทย์ในคดีนี้ไม่ได้ถูกฟ้องหรือเป็นคู่ความคดีอาญาในข้อหาบุกรุก แม้จำเลยจะเบิกความในคดีนั้นว่าอย่างไรก็ไม่มีทางที่โจทก์จะได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำเบิกความของจำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 28(2)

ฎีกาที่ 1709/2524(ประชุมใหญ่) ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 กฎหมายมุ่งคุ้มครองเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและคู่ความให้ได้รับผลในทางความยุติธรรมแห่งคดีเป็นสำคัญไม่เกี่ยวกับบุคคลนอกคดี และในปัญหาอำนาจฟ้องนั้นยังต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยหรือไม่
จำเลยฟ้อง ต. และ ช. หาว่าบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ โจทก์เป็นทนายความของ ต. และ ช. แม้ในคดีนั้นจำเลยได้เบิกความเท็จว่า โจทก์ได้ไปยังที่พิพาทพร้อมกับ ต. และ ช. และโจทก์ได้ใช้ปืนขู่บังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ถูกฟ้องว่าบุกรุกด้วยย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำเบิกความของจำเลย จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จ

นั้นคือ ถึงแม้ว่าจำเลยจะเบิกความเท็จ โดยที่ความเท็จที่เบิกนั้นจะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ก็ตาม บุคคลภายนอกที่ถูกพาดพิงนั้นก็ไม่ใช่ ”ผู้เสียหาย” ที่จะมีอำนาจฟ้องความผิดฐานเบิกความเท็จได้ ทั้งนี้จากการวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้แล้วการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 177 จึงไม่สามารถกระทำได้

3.การแจ้งความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137
ซึ่งบัญญัติว่า ”ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษ…” การเบิกความต่อศาลไม่ใช่เรื่องการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามนัยฎีกาที่ 2054/2517 ดังนี้

ฎีกาที่ 2054/2517 การเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน เพราะศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดีซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 177 มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานอย่างเจ้าพนักงานทั่วไป จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ดังนี้แล้ว การฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 จึงไม่สามารถกระทำได้

สรุปได้ว่า การที่จำดำเนินคดีกับจำเลยดังกล่าวเป็นคดีอาญาตามฐานความผิดในประมวลกฎหมายอาญานั้น ไม่สามารถกระทำได้

ในทางแพ่ง
การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการละเมิด ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 423 บัญญัติ ”ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายใดๆอันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนไม่ได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะได้รู้…” บุคคลภายนอกที่ถูกพาดพิงสามารถฟ้องจำเลยเป็นคดีละเมิดได้ โดยมีภาระในการพิสูจน์ว่าจำเลยเบิกความโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าข้อความที่ได้เบิกไปนั้นเป็นความเท็จ และต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการเบิกความเท็จของจำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าศาลพิพากษาให้บุคคลภายนอกชนะคดีในเรื่องละเมิดนี้ การเยียวยาความเสียหายที่จะได้รับจะเป็นดังนี้
ป.พ.พ.มาตรา438 ” ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดและเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการและความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้ต้องเสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย”

ป.พ.พ.มาตรา447 “ บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามสมควรเพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้ ”

ทั้งนี้และทั้งนั้น ในการพิจารณาที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งนี้จะต้องพิจารณาถึงค่าสินไหมทดแทนที่จะได้จากการชนะคดีด้วย ว่าจะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายต่างๆในการที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลยหรือไม่ โดยต้องดูว่าความเสียหายโดยตรงที่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้นั้น คิดเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด

วันอังคารที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

คำแปลคำพิพากษา

อันนี้เป็นคำพิพากษาศาลฎีกานัยเดียวกับฎีกาก่อน ที่วินิจฉัยว่าการฟ้องตามข้อสัญญารับประกันมีอายุความ 10 ปี

---------------------------------------
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2538
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โจทก์
บริษัทไทยวีรวัฒน์ จำกัด กับพวก จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 164, 474

สัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ได้ระบุในหมายเหตุท้ายสัญญาว่า ผู้ขายรับประกันสินค้าตามสัญญานี้เป็นเวลา 3 ปีหลังจากส่งของ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายได้รับรองคุณภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ขายให้แก่โจทก์ไว้เป็นพิเศษว่า หากหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อไปเกิดขัดข้องใช้การไม่ได้ภายในเวลา 3 ปี หลังจากส่งของ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดเมื่อปรากฏว่าหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 บางส่วนจำนวน 276 เครื่องชำรุดระหว่างรับประกันคุณภาพ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 จัดการซ่อมแต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยโจทก์จึงจัดการซ่อมเอง เสียค่าซ่อม 2,436,726 บาท จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำ-ประกันชำระค่าซ่อมให้ 221 เครื่อง เป็นเงิน 1,946,500 บาท คงค้างค่าซ่อมอีกจำนวน 55 เครื่อง เป็นเงิน 490,226 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในเงินจำนวนดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขายหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 ไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164


*********************************************

Dika Court Judgment No. 6968/2538
Provincial Electricity Authority Plaintiff
Thai Virawat Co., Ltd. and et al Defendants

The Civil and Commercial Code (“CCC”), Section 164, 474

A remark annexed to an electrical transformer sale contract between the Plaintiff and the Defendant specifies that the seller shall provide a 3-year warranty from the goods’ delivery date. Such terms of contract shall be construed that the First Defendant, as the seller, offer supplemental quality warranty of the sold transformer that if the Plaintiff’s bought transformers become malfunction and was unable to operate within 3 years after the delivery date, the First Defendant agreed to responsible thereon. It appears that some part of the transformers bought by the Plaintiff, i.e. 276 units, become defective during the quality warranty period. The Plaintiff notified the First Defendant to repair them but the First Defendant fail to response so. The Plaintiff, therefore, have them repaired at the cost of 2,436,726 Thai Baht. The Second Defendant, as a guarantor, paid the Plaintiff the repair cost of 221 units in the amount of 1,196,500 Thai Baht. The Plaintiff filed a plaint against both Defendants to recover the outstanding repair cost of 55 units in the amount of 490,226 Thai Baht. The case is that the Plaintiff exercised its right to file plaint against the First Defendant for the repair cost or damages incurred by the Plaintiff under the warranty agreement in the sale contract. The Plaintiff did not exercise its right to file plaint under the liability for the defective goods under Section 474 of the CCC, which has 1-year prescription. No prescription is specifically provided for the Plaintiff’s claim against the First Defendant under the special agreement as aforementioned. Thus the general prescription of 10 years period shall be applied in accordance with Section 164 of the CCC.

คำแปลคำพิพากษา

คำแปลฉบับนี้ และอีกฉบับหนึ่งต่อกันนั้น ได้ใช้ประกอบความเห็นในทางกฎหมายที่ให้แก่ลูกความชาวต่างชาติ ที่ถามมาว่าเค้าซื้อสินค้าจากคนไทย ซึ่งในสัญญาซื้อขายนั้นได้มีข้อสัญญาการรับประกันด้วย เค้าจะฟ้องคนไทยได้หรือไม่ถ้าอายุความเรื่องชำรุดบกพร่องขาดแล้ว (ชำรุดบกพร่องตามมาตรา 474 เป็น 1 ปี)
ในความเห็นที่ตอบไปนั้น บอกว่าสัญญารับประกันมีอายุความ 10 ปี ตามนัยคำพิพากษาศาลฏีกาต่อไปนี้

-----------------------------------------
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2535
จังหวัดแม่ฮ่องสอน โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดรามาเกรส กับพวก จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 164, 474ป.พ.พ.
มาตรา 421, 438, 1337
ป.วิ.พ. มาตรา 55

โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ข้อตกลงพิเศษตามสัญญาไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวซึ่งอยู่ติดกับถนนตลาดสดเทศบาล ที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นบนที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของ จำเลยที่ 3 จนทำให้ที่ดินราชพัสดุกลายเป็นชุมนุมชนและย่านการค้า การที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 สร้างกำแพงพิพาทสูงถึง 3 เมตร กั้น ระหว่างที่ดินราชพัสดุกับที่ดินของโจทก์ แม้กำแพงพิพาทอยู่ในที่ดินราชพัสดุ แต่กำแพงพิพาทปิดกั้นหน้าที่ดินและตึกแถวโจทก์ เห็นได้ว่าไม่สะดวกใน การไปมาติดต่อระหว่างตึกแถวในที่ดินของโจทก์กับตลาดสดเทศบาล กระทรวงการคลังเจ้าของที่ดินราชพัสดุก็ไม่เห็นชอบที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 สร้างกำแพงพิพาทขึ้นและเคยสั่งรื้อไปครั้งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 3 กลับสั่งให้ จำเลยที่ 1 ทำขึ้นอีกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล กำแพงพิพาท เป็นเหตุขัดข้องไม่ให้มีผู้ใดซื้อหรือเช่าตึกแถวในที่ดินของโจทก์ทั้ง จำเลยที่ 3 เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์ก่อนจึงจะรื้อกำแพง พิพาท ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 เป็นการใช้สิทธิของตน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรหรือคาดหมาย ไว้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์มีอำนาจฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337

________________________________

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ซึ่งมีจำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ทำสัญญาขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแก่โจทก์ ๑ เครื่อง โดยรับประกันว่าหากเกิดความชำรุดบกพร่องหรือขัดข้องเนื่องจากการใช้งานตามปกติภายใน ๑ ปี นับแต่วันส่งมอบ จะจัดการซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้รับแจ้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ภายใน ๓๐ วัน จำเลยที่ ๓ ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาโดยยอมรับผิดในวงเงิน ๗,๗๐๐ บาท ต่อมาหลังจากส่งมอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดชำรุดขัดข้องใช้การไม่ได้ โจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ ๑ แล้ว จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์จึงจ้างบุคคลภายนอกซ่อมเป็นเงิน ๑๘,๖๐๐ บาท ขอให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี จำเลยที่ ๓ ต้องร่วมรับผิดชำระเงิน ๗,๗๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน ๑ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ชำระเงินแก่โจทก์ตามวงเงินที่ค้ำประกัน โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๓ ศาลชั้นต้นอนุญาต
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๗๔ พิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑๐,๙๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครี่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้โจทก์ และได้ส่งมอบนำไปติดตั้งให้โจทก์ใช้งานที่โรงพยาบาลขุนยวม เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม๒๕๒๗ ต่อมาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดขัดข้องใช้งานไม่ได้ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๗แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทำการแก้ไข จำเลยที่ ๑ ทำการแก้ไขไม่สำเร็จ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๘โจทก์จึงว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขจนใช้การได้ เสียค่าใช้จ่าย ๑๘,๖๐๐ บาท จำเลยที่ ๑และที่ ๒ ฎีกาว่า ตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตกอยู่ในบังคับแห่งป.พ.พ. มาตรา ๔๗๔ โจทก์ฟ้องเกิน ๑ ปี นับแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๗ ซึ่งโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่อง คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า การซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารายนี้มีการรับรองคุณภาพสินค้าไว้เป็นพิเศษ มิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็แสดงแจ้งชัดว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้ค่าซ่อมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกไปตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่ให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในความชำรุดบกพร่องของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือที่มีอยู่ก่อนแล้วในวันส่งมอบ ตามที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดขัดข้องเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๒๗ เป็นเวลาภายหลังจากมีการส่งมอบและโจทก์ได้ใช้งานตามปกติแล้วถึง ๒ เดือน ตามคำฟ้อง และข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ธรรมดาซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๗๔ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ให้จำเลยที่ ๑ รับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้น ไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ ๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๖๔ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.

Dika No. 2858/2535 Mae Hongsorn Province Plaintiff
Ramagress Partnership and et al Defendants
Applicable Law: Civil and Commercial Code (“CCC”) Section 164, 474
Summary
Plaintiff filed a plaint, under the warranty term in the contract, against the Defendant claiming for payment of the repairing cost or damages that the Plaintiff sustained. The Plaintiff’s cause of action was not grounded from liability in the defect of the sold goods, which is barred by 1-year period prescription (or statute of limitation). No laws specify a prescription for special terms of the contract. In this case the general prescription of 10-year period pursuant to Section 164 of the CCC shall be applied. The Plaintiff’s plaint shall then not be barred by prescription.
-----------------------------
The Plaintiff filed a plaint alleging that First Defendant, by the Second Defendant as it’s managing partner, has entered into the contract to sell an electrical generator to the Plaintiff. Under a warranty clause there specified that should there occurred any defect or malfunction during a normal usage within 1 year from the delivery date, the Defendant shall arranged to have the generator repaired into good condition within 15 days after the receipt of notification without additional charge being incurred. Failure to comply with such obligation, the Defendant agrees to pay the Plaintiff for any damages incurred within 30 days.
The Third Defendant had entered into a guarantee contract with the Plaintiff guaranteeing the payment of damages on behalf of the First Defendant that arise from it’s performance under the sale contract within the amount of 7,700 Thai Baht.
Later on, the electrical generator had been delivered to the Plaintiff, thereafter it broke down and was not in condition for operation. The Plaintiff notified the First Defendant but the First Defendant fail to provide timely response. The Plaintiff therefore hired a third party at the cost of 18,600 Thai Baht to have the electrical generator repaired. The Plaintiff request the Court to enter into judgment ordering the First and the Second Defendant to compensate the Plaintiff for such amount of money and interest at rate of 7.5 % per annum and ordering the Third Defendant to be jointly liable for such payment in the amount of 7,700 Thai Baht with interest.
The First and the Second Defendant filed an answer contenting that the Plaintiff filed its plaint after 1-year period of prescription, thus the Plaintiff’s case is barred by prescription. The Plaintiff requested for its dismissal.
The Third Defendant paid the Plaintiff for the guaranteed amount of money. The Court of First Instance granted the Plaintiff’s withdrawal of its plaint against the Third Defendant.
The First and the Second Defendants were in default of appearance on trial.
The Court of First Instance enters into judgment deciding that the Plaintiff’s plaint is barred by 1-year prescription and have the Plaintiff’s plaint dismissed.
The Plaintiff appealed to the Court of Appeal
The Court of Appeal reverse the judgment of the Court of the First Instance and ordered the First and the Second Defendants to be jointly liable in paying the Plaintiff for the amount of 10,900 Thai Baht with interest at the rate of 7.5% per annum calculating from the date of filing up to the date that payment is made in full.
The First and the Second Defendants filed an appeal with the Dika Court (Supreme Court).
The Dika Court has decided that the fact was established that the First Defendant sold and delivered an electrical generator to the Plaintiff with installation at Kun Youm Hospital on 3 July B.E.2527 (A.D. 1984). Afterwards, the generator broke down and was not in condition for operation. The Plaintiff notified the First Defendant to repair it by the letter dated 22 October B.E.2527 but the repairing was not succeeded. On 29 October B.E. 2528 (A.D. 1985), the Plaintiff hired a third party to repair the defective generator until being in operation at the cost of 18,600 Thai Baht. The First and the Second Defendant appealed that the Defendant claimed for liability for defect under Section 474 of the CCC., and that the Plaintiff filed its plaint to the court after 1 year from the date the Plaintiff found the defect on 22 October B.E.2527. Thus, the Plaintiff’s claim is barred by that prescription. The Dika Court considered that the sale of the generator in this case contained a special warranty for the goods which was not an ordinary sale. In addition, Plaintiff’s plaint obviously stated that the Plaintiff claimed against the First Defendant to be liable for the repairing cost paid to the third party under the warranty agreement in the sale contract. The Plaintiff did not claim for defect liability existed at the time of contracting or before the delivery date, as the Plaintiff produced evidence that the generator was malfunction in September B.E. 2527, which was after the delivery to the Plaintiff and the Plaintiff had normally used it for 2 months. Thus, pursuant to the Plaintiff’s plaint and the mentioned fact, the Plaintiff was exercising its right to claim against the First Defendant under the warranty agreement in the contract for the cost of repair or damages incurred by the Plaintiff. The Plaintiff did not exercise its right to claim against the First Defendant on a general liability for the defective goods under Section 474 of the CCC which has the prescription of 1-year period. No prescription is provided for Plaintiff’s claim under the special agreement of the contract as aforementioned. As a result, the claim is under general prescription of 10-years period pursuant to Section 164 of the CCC. The Plaintiff’s claim, therefore, is not barred by the prescription. The judgment of the Second Regional Court of Appeal is correct. The appeal of the First and the Second Defendant was irrelevant.
Judgment confirmed.

ผิดสัญญาในสาระสำคัญ - หลัก & การปรับใช้

หลักในเรื่องนี้ก็คือ การผิดสัญญามีสองประเภท ผิดสัญญาในสาระสำคัญกับไม่ใช่สาระสำคัญ ผลที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันดังนี้
-ถ้าผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญแล้วอีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที
-ถ้าผิดสัญญาที่ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเลิกสัญญาได้ทันที แต่ต้องบอกกล่าวให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาแก้ไขการผิดสัญญาภายในระยะเวลาอันสมควรก่อนถ้าฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่แก้ไข อีกฝ่ายหนึ่งจึงจะสามารถเลิกสัญญาได้
-ข้อสัญญาข้อใดจะเป็นสาระสำคัญนั้น อยู่ที่ลักษณะของสัญญาและตัวสัญญาเอง โดยสัญญาอาจจะกำหนดไว้เป็นตัวหนังสือเลยว่า ข้อสัญญาข้อนี้ข้อนี้เป็นสาระสำคัญ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายผิดสัญญาข้อนี้ข้อนี้แล้วอีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกได้ทันที
-อย่างไรก็ตามถึงแม้สัญญาจะระบุไว้ว่าข้อสัญญาข้อนั้นเป็นสาระสำคัญแต่ถ้าโดยพฤติการณ์ที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันแล้วไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่สามารถบอกเลิกได้ เช่นสัญญาเช่าซื้อกำหนดว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดจ่ายค่าเช่าซื้อล่าช้าแล้วให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที หรือให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกได้ แต่ถ้าโดยพฤติการณ์ถึงแม้ผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าก็ตาม แต่ผู้ให้เช่าซื้อก็ยังรับไว้ตลอดมา ดังนี้ถือว่าข้อสัญญาข้อนี้ไม่ใช่สาระสำคัญแล้ว ถ้าต่อมาภายหลังผู้เช่าซื้อผิดนัดจ่ายค่าเช่าซื้ออีก ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที แต่ต้องบอกกล่าวให้ชำระภายในระยะเวลาอันสมควรก่อนจึงจะบอกเลิกได้

ฎีกาเรื่องการผิดสัญญาในสาระสำคัญ
2575/2546

แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และยินยอมให้เจ้าของทำการยึด และเข้าครอบครองรถยนต์นั้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาตั้งแต่งวดที่ ๒ ถึงที่ ๘ ซึ่งโจทก์ก็ยินยอมรับไว้ แม้โจทก์จะคิดค่าปรับแก่จำเลยที่ ๑ ในกรณีที่จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ล่าช้าก็ตาม แต่หลังจากโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว โจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้องวดที่ ๗ และ ที่ ๘ พร้อมค่าปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๗ ทั้งก่อนที่โจทก์จะไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบ จากนั้นจำเลยที่ ๑ ไปติดต่อขอรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แสดงว่าจำเลยที่ ๑ โต้แย้งการยึดนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระงวดที่ ๙ ภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรดังบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาเพราะเหตุดังกล่าว และจำเลยที่ ๑ ก็โต้แย้งการยึด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ ๑ ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อแทนค่าปรับที่ได้รับไว้แก่จำเลยที่ ๑
2438/2545
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๑ ก่อสร้างอาคารเรียน กำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดรวม ๗ งวด จำเลยที่ ๑ ดำเนินการก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ ๑ ถึงที่ ๔ ภายในกำหนดแก่โจทก์ โจทก์รับมอบงานและชำระค่าจ้างงวดที่ ๑ ถึงที่ ๓ ครบถ้วน ส่วนงวดที่ ๔ โจทก์ชำระค่าจ้างไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แต่จำเลยที่ ๑ ก็มิได้บอกเลิกสัญญา หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแล้ว โจทก์ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระในงวดที่ ๔ ให้แก่จำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ยอมรับค่าจ้างดังกล่าว จากนั้นจำเลยที่ ๑ ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ ๕ และที่ ๖ โจทก์ก็ยอมรับมอบงานและชำระค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ ๑ ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ ยังคงปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจ้างต่อไป โดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ แต่จำเลยที่ ๑ กลับดำเนินการก่อสร้างงานงวดที่ ๗ ไม่แล้วเสร็จก็ละทิ้งงานทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ ๑ จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์และจำเลยที่ ๑ มีข้อตกลงกันว่า ในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญา จำเลยที่ ๑ ยอมให้โจทก์ปรับวันละ ๕,๙๔๖ บาท แต่เมื่อครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจ้างแล้ว คู่กรณีโดยจำเลยที่ ๑ ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์ก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ ๑ เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จเท่านั้น
ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเป็นการเรียกค่าเสียหายเพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๒ หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๓ เมื่อจำเลยที่ ๑ ละทิ้งงานงวดที่ ๗ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ โจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๘ อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ ๔ เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างบุคคลภายนอกให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๐ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ ๑ แล้วถึง ๑ ปี ๕ เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งความล่าช้า ดังนี้ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นดังกล่าวย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์โดยใช่เหตุรวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๓
1108/2544
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเคยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระ จำเลยก็รับชำระโดยคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้ออีก จำเลยไปยึดรถคืน โจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างกับค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยไปชำระจำเลยก็รับชำระเช่นเดิม
แสดงว่า จำเลยไม่ได้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรื่องการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่สิ้นสุด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแล้วจำเลยต้องคืนรถที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมคืนจึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง ซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น ป.พ.พ. มาตรา ๓๙๑ วรรคสาม ให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้ โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถรถอื่นมาทดแทนได้ หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้
2522/2543
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินในโครงการของจำเลยโดยตกลงชำระเงินดาวน์เป็นงวด และชำระเงินส่วนที่เหลือกับจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ภายในกำหนด หรือภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่จำเลยแจ้งให้ทราบ ในประกาศโฆษณาของจำเลยระบุว่า จะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกได้แก่ ถนนคอนกรีต ไฟฟ้าน้ำประปา สนามเด็กเล่น โทรศัพท์สายตรงโทรศัพท์สาธารณะและยามรักษาความปลอดภัยโจทก์ชำระเงินดาวน์แก่จำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือและไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์รวม ๒ ฉบับ โดยฉบับหลังระบุด้วยว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายในกำหนด ให้ถือว่าหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้ชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดทั้งสองครั้ง โดยโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนก่อน หรือให้จำเลยรับเงินส่วนที่เหลือโดยลดราคาลง แล้วจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แสดงว่าขณะนั้นสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่ประกาศโฆษณา แม้ยังไม่ครบถ้วน แต่โจทก์ก็มิได้ถือเป็นสาระสำคัญจนถึงขนาดที่โจทก์ไม่อาจรับโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือต้องลดราคาลงทั้งปรากฏว่า จำเลยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามที่ประกาศโฆษณามาเป็นลำดับ และภายหลังจำเลยแจ้งให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือนานปีเศษ สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเลยยังมิได้จัดให้มีตามประกาศโฆษณาคงมีเพียงโทรศัพท์สาธารณะกับสนามเด็กเล่นซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเท่านั้น นอกจากนี้ในเวลาที่มีการนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทโจทก์ยังไม่มีความพร้อมด้านการเงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระราคาส่วนที่เหลือตามที่ตกลงกัน การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาย่อมมิได้
6874/2543
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยได้รับประกันภัยการขนส่งอุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งโจทก์สั่งซื้อจากบริษัทมิตซูบิชิคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้ความคุ้มครองตั้งแต่สินค้าได้บรรทุกลงเรือที่ท่าเรือโกเบจนถึงปลายทางที่โครงการของโจทก์อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สินค้าดังกล่าวบรรทุกมาโดยเรือเรียวว์ จากท่าเรือโกเบ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม๒๕๓๔ สินค้ามาถึงท่าเรือของบริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด เมื่อวันที่ ๒๔มีนาคม ๒๕๓๔ แล้วขนถ่ายเก็บไว้ที่โรงพักสินค้าของท่าเรือ ต่อมาวันที่ ๒๕เมษายน ๒๕๓๔ จึงได้นำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าไปที่โครงการของโจทก์อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น คณะกรรมการตรวจรับสินค้าพบว่าสินค้าหายไป ๑ หีบห่อ เป็นเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการทำงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งมีน้ำหนักประมาณ ๒,๓๐๐ กิโลกรัม และยังปรากฏว่าสินค้าของโจทก์คงเหลือตกค้างที่โรงพักสินค้า ๑ หีบห่อ แต่ไม่ใช่สินค้าที่สูญหายไป
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกมีว่าทรัพย์ที่เอาประกันภัยไว้สูญหายไป ๑ หีบห่อหรือไม่
โจทก์มีนางกาญจนาชาญสมร นายไพโรจน์ อยู่จ่าย นางเยาวมาลย์ วีระพันธ์ และนายสิทธิชัยทรงลิลิตชูวงษ์ ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า โจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าจำพวกอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพองจากบริษัทมิตซูบิชิคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้จัดส่งสินค้าบรรทุกมาโดยเรือเรียวว์ตามใบกำกับสินค้าเอกสารหมายจ.๔ และใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๕ และ จ.๖ จำเลยได้รับประกันภัยการขนส่งทางทะเลสินค้าดังกล่าวไว้ตามกรมธรรม์เอกสารหมาย จ.๓ต่อมาสินค้าได้นำขึ้นที่ท่าเรือบางปะกอก ซึ่งเป็นท่าของบริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด เพื่อนำสินค้าเข้าเก็บที่โรงพักสินค้าชั่วคราว และโจทก์ได้ทำพิธีการทางศุลกากร หลังจากนั้นโจทก์ได้นำหลักฐานการชำระภาษีใบตราส่ง ใบกำกับสินค้า และบัญชีรายละเอียดของสินค้าไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ท่าเรือเพื่อออกสินค้า เจ้าหน้าที่ท่าเรือได้ออกใบรับรองตามเอกสารหมาย จ.๗ ให้แก่โจทก์ ซึ่งใบรับรองระบุว่ามีสินค้าจำนวน๖๔ หีบห่อ เมื่อโจทก์จะนำสินค้าออก เจ้าหน้าที่โรงเก็บสินค้าได้ออกใบกำกับสินค้าตามจำนวนสินค้าที่จะนำออก ตามเอกสารหมาย จ.๑๕ระบุว่ามีสินค้าเพียง ๖๓ หีบห่อ เมื่อมีการขนย้ายไปยังโครงการของโจทก์ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จึงได้ตั้งกรรมการตรวจรับ พบว่าสินค้าหายไป ๑ หีบห่อ คืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมายเลข ๑ บี - ไอเอ็ม ๐๑ - ๕ ซึ่งสินค้าดังกล่าวมีน้ำหนักประมาณ ๒,๓๐๐ กิโลกรัม โจทก์สั่งซื้อสินค้าดังกล่าวมาทดแทนแล้วในราคาประมาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท
ส่วนจำเลยนำสืบว่า สินค้าที่โจทก์สั่งซื้อมาดังกล่าวครบถ้วนมิได้สูญหาย แต่เป็นความสับสนของโจทก์เองที่ได้ส่งสินค้าสลับกันไปตามโรงไฟฟ้าต่าง ๆ และยังมีสินค้าของโจทก์ตกค้างอยู่ที่โรงพักสินค้าอีก ๑ หีอห่อ
เห็นว่า เจ้าหน้าที่ท่าเรือได้ออกเอกสารใบรับรองตามเอกสารหมาย จ.๗ ระบุสินค้าจำนวน ๖๔ หีบห่อ ใบรับของตามเอกสารหมาย จ.๗ ระบุสินค้าจำนวน ๖๔ หีบห่อ คือตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๕ จำนวน ๑๑ หีบห่อ และใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๖จำนวน ๕๓ หีบห่อ ซึ่งรวมถึงสินค้าที่หายไปคือหีบห่อหมายเลข ๑ บี -ไอเอ็ม ๐๑ - ๕ ตามใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.๔ และใบตราส่งเอกสารหมาย จ.๕ การที่เจ้าหน้าที่ท่าเรือได้ออกใบรับรองตามเอกสารหมาย จ.๗ ระบุสินค้าจำนวน ๖๔ หีบห่อ แสดงว่าได้มีการขนถ่ายสินค้าขึ้นมาจากเรือพักไว้ที่โรงพักสินค้าครบถ้วนเรียบร้อย ครั้นเมื่อนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้า เจ้าหน้าที่ได้ออกใบกำกับสินค้า ตามเอกสารหมาย จ.๑๕มีสินค้าเพียง ๖๓ หีบห่อ ทั้งสินค้าที่ตกค้างอยู่ที่โรงพักสินค้าก็เป็นเพียงอุปกรณ์แผ่นเหล็กประมาณ ๑๕ แผ่น น้ำหนัก ๒๖๐ กิโลกรัม คนละชนิดกับสินค้าที่โจทก์นำสืบว่าสูญหาย และไม่ได้ความว่ามีการส่งผิดไปยังโรงไฟฟ้าอื่นแต่ประการใด ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อว่า สินค้าของโจทก์ได้สูญหายระหว่างการขนส่งหรือระหว่างที่เก็บไว้ที่โรงพักสินค้า ๑ หีบห่อ คือหีบห่อหมายเลข๑ บี - ไอเอ็ม ๐๑ - ๕
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปว่า โจทก์มีส่วนผิดสัญญาประกันภัยหรือไม่
โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์มิได้เรียกร้องจากผู้ขนส่งในทันทีในกรณีที่หีบห่อหายไป และมิได้ยื่นคำขอให้ผู้แทนผู้ขนส่งทำการสำรวจทันทีโดยแจ้งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้ขนส่งภายใน ๓ วัน นับแต่วันรับมอบสินค้า ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า โจทก์แจ้งเรื่องสินค้าสูญหายล่าช้าไปหลายเดือน ก็ได้ความว่าเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการตรวจสอบว่าสินค้าได้สูญหายไปจริงหรือไม่เมื่อตรวจสอบว่าสินค้าได้สูญหายไปจริงโจทก์ก็ได้แจ้งให้ผู้ขนส่งและจำเลยทราบทันทีโดยนางกาญจนา ชาญสมร พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า เมื่อโจทก์พบว่าหีบห่อสินค้าสูญหายไป ก็ได้แจ้งเรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยและผู้ขนส่งตามเอกสารหมาย จ.๑๐ แผ่นที่ ๑ ถึง ๕
จำเลยอ้างเพียงว่าไม่มีหลักฐานสินค้าสูญหายเท่านั้น นอกจากนี้นางเยาวมาลย์ วีระพันธุ์ พยานโจทก์ก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า จำเลยไม่เคยปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ได้แจ้งความเสียหายให้ทราบภายในกำหนด ข้อนี้นางพิไล คล่องพิทยาพงศ์ อดีตหัวหน้าสินไหมภัยทางทะเลของจำเลย มีหน้าที่พิจารณาจ่ายค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าสินค้าสูญหาย เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าสินค้าสูญหาย กับจำเลยไม่สามารถรับช่วงสิทธิจากผู้ทำละเมิดได้
จากพฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอาข้อกำหนดเงื่อนไขตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญให้โจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนผิดตามสัญญาประกันภัย
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า ค่าเสียหายมีเพียงใด ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยมิได้โต้แย้งฟังได้ว่าโจทก์ต้องซื้อสินค้ามาทดแทนสินค้าที่หายในราคา ๒,๔๐๔,๙๕๘.๑๙ บาทซึ่งเป็นราคาที่อยู่ภายในวงเงินที่เอาประกันภัย เมื่อฟังว่าจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยดังได้วินิจฉัยมาแล้ว จำเลยที่ ๑ ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนตามราคาสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๖ ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป
1138/2542
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ ๒๐๐ ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่พ้นดินประมาณ ๒ เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคารตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลยหลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย ๒ ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้างไปได้ ๓ ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
1039/2541
สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ระบุวันเดือนปีในการชำระเงินมัดจำไว้ ๖ งวด เริ่มงวดแรกวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๓ งวดสุดท้ายวันที่ ๑๕สิงหาคม ๒๕๓๓ ส่วนที่เหลือ ๓๕๘,๘๐๐ บาท กำหนดชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ และหมายเหตุว่าโอนกันเดือนพฤศจิกายน ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาในการชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ผู้จะซื้อย่อมบอกเลิกสัญญาได้เลยตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๘๘ การที่ผู้จะซื้อปล่อยเวลาไว้นานเกือบ ๕ ปี จึงบอกเลิกสัญญา และขอมัดจำคืนก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญาผู้จะซื้อจะขายมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ การเลิกสัญญาจึงมิต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ตาม มาตรา ๓๘๗ การที่จำเลยผู้จะขายมีปัญหากับบริษัท ท.ผู้รับจำนอง แล้วโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เป็นความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว แม้โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร จะถือว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว
หนังสือนัดโอนห้องชุดที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังจากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการกระทำของจำเลยหลังจากที่กำหนดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว หนังสือที่จำเลยนัดให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทหลังจากจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์แล้วย่อมไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นผู้ผิดสัญญาแทนจำเลยไปได้
448/2540
ศาลนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๖และได้มีการเลื่อนสืบพยานจำเลย ๕ ครั้ง ในจำนวนนี้มีอยู่ครั้งเดียวที่ขอเลื่อนคดีเพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้เตรียมผู้รู้ภาษาจีนกลางมาควบคุมการแปลของล่ามฝ่ายจำเลย นอกจากนั้นที่จำเลยขอเลื่อนคดีมีสาเหตุมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการเลื่อนคดีครั้งที่ ๕ ศาลได้กำชับว่านัดต่อไปให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม แต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่ ๖ จำเลยขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานได้เดินทางมาในประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับโทรสารว่าที่บ้านของพยานที่ต่างประเทศมีเรื่องด่วนให้รีบกลับ พยานจึงเดินทางกลับต่างประเทศ การสืบพยานในคดีไม่ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปาก และทุนทรัพย์ไม่ว่ามากหรือน้อยอยู่ที่ว่าคู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบเพียงใด คดีนี้แม้จำเลยจะแถลงว่าสืบพยานปากเดียวแต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือน จนศาลต้องกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อม แต่จำเลยก็ไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินคดีให้เสร็จไปโดยรวดเร็ว พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาสืบชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น ๒ ตอน ในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใด มีการชำระเงินกันอย่างไรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญา และครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๔ พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วย การบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระ นับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว และในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัท ท.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใด และแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอ และโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๓ กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ ๔๘ งวด งวดละเดือน จำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญา ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัด แต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วน โจทก์ได้รับชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระ ต่อมาวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๕โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๕ วันแต่จำเลยไม่ชำระ ดังนี้ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้ว จะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้าง ทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้
ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริง แต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือจำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท.แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อน โจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
3753/2540
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ ๑ มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ ๑ ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ ๑ โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ ๑ ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ ๑ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ ๑ ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ ๑ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ ๑ เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ ๑ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ ๑ ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ ๑๓ ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ ๑ ต่อปีและหากจำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ ๑ ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ ๑ ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ ๒๑ ต่อปี
3941/2540
สัญญาเช่าซื้อข้อ ๖ ระบุว่า "หากผู้เช่าซื้อฝ่าฝืน หรือผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งมาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวให้ทราบแต่ประการใดทั้งสิ้น และถือว่าสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที" แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันจำเลยทั้งสองมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ในวันที่ ๕ ของเดือน และหลายงวดชำระครั้งหนึ่งก็มี ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมาแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๘๗
การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง ๔๙,๐๐๐ บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๕ จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและผิดสัญญาเช่าซื้อ
4312/2540
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน ๔๒๐,๗๕๐ บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน ๔๒๐,๗๕๐ บาท นั้นโจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลยแสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
5565/2540
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๒ แต่ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๓ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ มิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเดิมเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยที่ ๑ จะอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ ๕สิงหาคม ๒๕๓๓ หาได้ไม่
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ ๑ แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๓ ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ ๑ ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๓ ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ ๑ ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๓๓ ล่าช้าไปจากวันที่ ๕สิงหาคม ๒๕๓๓ เป็นระยะเวลา ๓๕ วัน ซึ่งจำเลยที่ ๑ ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง ๓๕ วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม ๓๕ วันมาจึงชอบแล้วเบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้
7523/2540
จำเลยที่ ๑ ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ ๑ ถึงงวดที่ ๙เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ ๙ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง๑๙ วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด ๓๐ วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อภายใน ๓๐ วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน๓๐ วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันที การบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔โดยจำเลยที่ ๑ ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ ๑ เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว ๑ ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ ๑ ชำระแล้วแก่จำเลยที่ ๑ แต่การที่จำเลยที่ ๑ ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ ๑ จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๓๙๑ วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ ๑ ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ ๑ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๙๑ วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ ๑ ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ ๑ อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง ๑๕ เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ ๑ ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๔๑ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ ๑ ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
7809/2540
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินเพียง ๔๖,๐๐๐ บาท น้อยเกินไป ควรจะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า๔๔๖,๐๐๐ บาท ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๙วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว
ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไปถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด ๖๐ วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นอันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้ว แสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย
4871/2539
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้ แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๘๗ เสียก่อน การที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน ๑๐ วัน จะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญา และจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่ การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า เมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหาย คืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมาย จ.๙ นั้น ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงาน และสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลม ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๙๑ โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญา แต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญา และคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใด เงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้
4938/2538
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ ๘ ระบุว่า ถ้าจำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญานี้เลิกกันโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวก่อนและข้อ ๑๐ ระบุว่า ถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันกรณีที่จำเลยที่ ๑ ผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งใดอย่างใด ไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งอื่นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาเกือบถึง ๑ ปี และครั้งสุดท้ายชำระไม่ครบจำนวนดังกล่าว โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๗ เสียก่อน
หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน ๗ วัน ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๑ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใด เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้
กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญา จึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่ โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ ๙ ซึ่งระงับไปแล้ว
7327/2538
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดไว้ว่าโจทก์จะต้องชำระเงินมัดจำภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือนรวม ๑๐ งวด ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ แม้ว่าโจทก์ชำระเงินมัดจำงวดที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑๓กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ และชำระเงินมัดจำงวดที่ ๙ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๓๓ แต่จำเลยที่ ๑ ก็รับไว้ โดยไม่ได้โต้แย้งแต่ประการใด และในงวดที่ ๑๐ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ ๑ ก็ได้รับจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์ชำระช้าไปเพียงเล็กน้อยและปรากฏว่าวันที่ ๑๐ และ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๓ ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์อีกด้วยการที่จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ทักท้วงก็แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้ถือกำหนดระยะเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้การบอกเลิกสัญญาจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ได้อ้างว่าโจทก์ชำระเงินไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาแต่อย่างใด แต่อ้างเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาว่าจำเลยที่ ๑ ประสบกับภาวะขาดทุนเนื่องจากวัสดุก่อสร้างและค่าแรงสูงขึ้น ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จำเลยที่ ๑ จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่ ๑ ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างบ้านให้โจทก์ตามสัญญาถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา
2455/2537
โจทก์และจำเลยได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาไปแล้วหลายครั้งหลายหน โดยต่างไม่ถือว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินที่เหลือให้จำเลยตามกำหนดในสัญญา และถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แล้วให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำในทันทีหาได้ไม่ จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๗ โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือเสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงจะเลิกสัญญาแก่โจทก์ได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยไม่ยอมรับหนังสือของทนายความโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญาให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้

การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา - สกัดหลักกฎหมายจากคำพิพากษา

อันนี้เป็นเรื่องสัญญา โดยที่หน่วยงานภาครัฐทำสัญญากับผู้รับเหมา และเมื่อทำงานไปจริงปรากฎว่างานมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแพงกว่าที่ตกลงกันไว้ ผู้คุมงานมีหนังสือยินยอมให้แก้ไขได้สัญญาก่อสร้างและขึ้นราคาได้ แต่พอเวลาจ่ายเงินจริง คนจ่ายเงินดูตามสัญญาที่ตกลงกันไว้แต่แรก ปัญหาก็คือจะภาครัฐจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นตามที่ผู้คุมงานมีหนังสือยินยอมหรือไม่

ตามที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคำพิพากษาศาลฏีกาในประเด็นสัญญาก่อสร้างที่ผู้รับเหมาได้ทำการเพิ่มเติมงานโดยไม่ได้แจ้งให้เจ้าของงานทราบภายในกำหนด หรือแจ้งภายในกำหนดแล้วแต่ไม่ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลานั้น
จากการอ่านข้อสัญญาข้อ 11 ที่เป็นประเด็นปัญหานั้น พบว่าการแจ้งหรือการส่งเอกสารภายในกำหนดนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้รับเหมาที่จะเรียกร้องแต่อย่างใด สิทธิของผู้รับเหมาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้รับความตกลงยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของก่อนเท่านั้น (“…Any adjustment in the Contract Price or scheduled time pursuant to a claim by the Contractor and agreed to in writing by the Contractor and OWNER shall be binding on and paid by OWNER. …”)
มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาด้านล่างนี้ วินิจฉัยว่าถ้าสัญญาก่อสร้างมีการเพิ่มเติมงาน และผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการไปโดยที่ยังไม่ได้รับคำยินยอมจากเจ้าของก่อน ถือเป็นความผิดของผู้รับเหมาเอง ผู้รับเหมาไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเงินที่เพิ่มขึ้นจากเจ้าของแต่อย่างใด คำพิพากษาโดยละเอียดได้แนบมาด้วยแล้ว
ฎีกาที่ 6443/2540
การที่โจทก์สำรวจพบหินพืดและหินผุในสายทาง ซึ่งต้องระเบิดทิ้งและอยู่นอกเหนือจากแบบและรายการประมูล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างโดยตกลงเพิ่มเติมงานและคิดราคากับจำเลยใหม่ เมื่อโจทก์เพียงแต่สอบถามคณะกรรมการตรวจการจ้างถึงวิธีดำเนินการ แม้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับวิธีการที่จะระเบิดหินและให้ดำเนินการไปได้แต่เมื่อลักษณะงานที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้เป็นสาระสำคัญของสัญญาเพราะเกี่ยวข้องกับเงินค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจะดำเนินงานต่อไปคู่สัญญาจำต้องทำความตกลงกันใหม่เสียก่อนตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง แต่โจทก์กลับทำข้ามขั้นตอนโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นหรือร่วมตกลงด้วยเพราะอุปสรรคที่พบและจำนวนค่าจ้างที่สูงขึ้นอาจมีผลทำให้ต้องยกเลิกการจ้างได้ โจทก์จึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเรียกร้องเอาเงินเพิ่มได้ ดังนี้เป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระค่าจ้างในส่วนงานที่เพิ่มแก่โจทก์
ฎีกาที่ 3532/2532
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาปรับปรุงที่ดินกับจำเลยที่ 2 ตามสัญญากำหนดวิธีการถมให้โจทก์ปฏิบัติไว้ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้วเกิดขัดข้องไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โจทก์เลือกทำงานต่อไปด้วยวิธีการใหม่โดยไม่รอทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการทำงานเพิ่มเติมจากข้อกำหนดในสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดไว้ว่าการเพิ่มเติมงานจักต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ ถ้าจักต้องเพิ่มค่าจ้างก็ต้องทำความตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน เมื่อโจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือ จึงนับว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังมิได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติมนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างเพิ่มเติมจากจำเลยที่ 2

เหตุสุดวิสัย - สกัดหลักกฎหมายจากคำพิพากษา

เวลาเรียนกฎหมายเรื่องเหตุสุดวิสัยนี้จะไม่สะดุดใจมากนัก แต่เวลาเป็นคดีความกันเรื่องนี้ถือว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ใช้ได้สารพัดประโยชน์เหมือนกันนะครับ
เพราะเหตุสุดวิสัย สามารถใช้เป็นข้อแก้ตัวที่จะใช้ยกขึ้นมาต่อสู้ว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ผิดสัญญา ตามป.แพ่งมาตรา 8 ผมได้ค้นฏีกาตามมาตรา 8 ทั้งหมดและเลือกเอาเฉพาะฎีกาที่เกี่ยวข้องกับสัญญาหรือละเมิด และทำเป็น memo ดังนี้

คำพิพากษาเรื่องเหตุสุดวิสัย
1 กรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534
(บจ ศรีอยุธยาประกันภัย โจทก์ บจ.ไทยโซนชิปปิ้ง กับพวก จำเลย)
…ขณะที่เกิดเหตุมีมรสุมคลื่นลมจัด เรือบรรทุกซุงอับปางลงเพราะเรือรั่วเนื่องจากถูกของแข็งภายนอกเรือมากระแทกชนเรือ แม้กับตันจะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือได้ เหตุที่เรือรั่วจึงเป็นเหตุสุดวิสัย…
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2531
(หจก. จิตรส่งแสง โจทก์ การประปาส่วนภูมิภาค จำเลย)
…การที่น้ำป่าพัดสะพานพัง ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย แต่กรณีระดับน้ำในแม่น้ำเมยสูงขึ้นเป็นสิ่งที่เป็นไปโดยปรกติตามฤดูกาลโดยระดับน้ำในหน้าฝนจะสูงขึ้นเช่นนี้ทุกปี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย…
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2530
(กรมตำรวจ โจทก์ บจ ที. อี. ซี. โอ. จำเลย)
จำเลยทำสัญญาขายชนวนลูกระเบิดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท อ. ในประเทศออสเตรเลียให้โจทก์ กำหนดส่งมอบสินค้าให้ภายใน 180 วัน ถ้าส่งเกินกำหนดจะถูกปรับ จำเลยส่งสินค้าให้แก่โจทก์เกินกำหนดไป 308 วัน เพราะรัฐบาลออสเตรเลียระงับเรื่องที่บริษัทผู้ผลิตขออนุญาติส่งออกไว้ เนื่องจากสถานการณ์สู้รบระหว่างจีนกับเวียดนาม และเมื่อได้รับอนุญาตให้ส่งออกแล้วต้องส่งผ่านประเทศเยอรมันต้องส่งผ่านประเทศเยอรมันตะวันตก สถานทูตไทย กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลียก็ต้องรับรองต่อรัฐบายเยอรมันตะวันตกอีกว่าชนวนลูกระเบิดจะส่งถึงโจทก์ ทำให้เสียเวลาเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 332 วัน อันเป็นเหตุการณ์ที่จำเลยและบริษัท อ. ไม่อาจป้องกันได้และไม่อาจคาดหมายว่าจะเกิดขึ้น ทั้งจำเลยไม่อาจจะส่งมอบชนวนลูกระเบิดที่มีแหล่งผลิตจากที่อื่นผิดไปจากข้อสัญญาได้ การส่งสินค้าดังกล่าวล่าช้าจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบและโจทก์จะใช้สิทธิปรับจำเลยตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2527
(กรมป่าไม้ฯ โจทก์ นายชัยสิทธิ นันทเสน จำเลย)
จำเลยทำสัญญารับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางไว้แก่โจทก์ ถ้าไม้ขาดหรือเป็นอันตราย จำเลยยอมให้ปรับเป็นเงิน ต่อมาเกิดเหตุอุทกภัยพัดพาเอาไม้ของกลางสูญหายไปทั้งหมด อันถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา

2 กรณีที่ศาลไม่เห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
2.1 การยกขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2544
(นายภาวัต สอนใจ โจทก์ บจ. ลิฟวิ่งสแตนดาร์ดกรุ๊ป จำเลย)
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 เหตุที่จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้นั้นจะต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลนั้น และต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้แม้ผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
จำเลยประกาศขายโครงการบ้านที่พักอาศัยแก่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งโจทก์ไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้เตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อน ต่อมาเกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนโดยสถาบันการเงินระงับการให้เงินกู้อันเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้การก่อสร้างหยุดชะงัก ดังนี้การที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมการป้องกันทั้งๆที่สามารถป้องกันได้ จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538
(บจ เอ็ม เอ็ม พี แพ็คเกจจิ้งกรุ๊ป โจทก์ บจ. ไพรม์ชิปปิ้ง จำเลย)
…จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 616 เมื่อนำสืบได้ความแต่เพียงว่าระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุและมีคลื่นใหญ่โดยไม่ปรากฎว่ามีความร้ายแรงผิดปรกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือไม่อาจป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายได้ เหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 8…
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537
(บจ โปรเกรสพลาสติก โจทก์ บจ ยูไนเต็ดไทยชิปปิ้ง จำเลย)
จำเลยผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลบรรทุกสินค้าไม่รัดกุมพอ ใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผู้รัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ทั้งไม่ปรากฎว่าวไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฎิบัติแล้วได้ อีกทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง หากจะหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้แต่ยังเดินเรือต่อไป เมื่อมีคลื่นลมแรงจัดซัดน้ำทะเลเข้าหาตัวเรือและดาดฟ้าเรือกระแทกตู้คอนเทนเนอร์จนลวดสลิงและโซ่ที่ใช้ผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกสินค้าของโจทก์อาจจะยืดหรือขาดทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ตกลงไปในทะเล กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238-1239/2536
(ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศวิลัยพาณิชย์ ที่ 1 กับพวก โจทก์ บจ.สหมิตรขนส่ง จำเลย)
ได้ความแต่เพียงว่าระหว่างขนส่ง คนขับรถบรรทุกของจำเลยขับไปใกล้ถึงปลายทางได้เกิดเพลิงไหม้ตรงกลางคันรถใต้ผ้าใบคลุมสินค้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ปรากฎว่าเหตุเพลิงไหม้นั้นไม่อาจป้องกันได้เพราะเหตุใด และคนขับรถผู้ต้องประสบเหตุนั้นได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร ยังถือไม่ได้ว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2534
(องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โจทก์ นายพยุง คนชม จำเลย)
จำเลยรับจ้างลากขนไม้เพื่อไปส่งมอบให้แก่โจทก์ แล้วไฟป่าไหม้ไม้โจทก์เสียหาย ปรากฎว่าเหตุไฟไหม้เกิดเดือนมกราคม 2525 เป็นช่วงที่อากาศแห้ง บริเวณที่รวมหมอนไหม้มีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อย จำเลยสามารถป้องกันได้โดยถางต้นหญ้าที่ขึ้นปกคลุมกองไม้เสีย และจัดหาเครื่องมือดับเพลิงเตรียมไว้ แต่จำเลยหาปฎิบัติเช่นนั้นไม้ เป็นเหตุให้ไฟไหม้แล้วลามไปไหม้ไม้โจทก์ จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหาใช่เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4151/2532
(บจ ยู.เอ.ที โจทก์ กรมการบินพาณิชย์ จำเลย)
โจทก์สั่งซื้อสิ่งของที่จะขายให้แก่จำเลยไปยังบริษัทผู้ขายก่อนวันที่บริษัทผู้ขายล้มละลาย การที่บริษัทผู้ขายไม่ส่งสิ่งของมาให้โจทก์เป็นเพราะเหตุใด โจทก์ไม่ได้นำสืบแสดงให้ปรากฏ บริษัทผู้ขายอาจมีสิ่งของตามสัญญาอยู่แล้ว สามารถส่งมอบให้แก่โจทก์ได้ก่อนที่จะล้มละลาย แต่ไม่ส่งให้เอง ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าสิ่งของเหล่านั้น โจทก์ไม่สามารถที่จะจัดหาจากผู้ขายรายอื่นได้ โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ขายให้แก่จำเลยได้ภายในกำหนดสัญญาได้เพราะเหตุสุดวิสัยเนื่องจากบริษัทผู้ขายสิ่งของดังกล่าวให้แก่โจทก์ล้มละลายหาได้ไม่

2.2 การยกขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องรับผิดตามมูลละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6766/2539
(การไฟฟ้านครหลวง โจทก์ การท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลย)
สารตัวเติมออกซิเจนซึ่งมีคุณสมบัติสลายตัวให้ออกซิเจนออกมาหรือทำปฎิกริยากับความร้อน สารอินทรีย์ หรือผสมกันก็จะเกิดการลุกไหม้ขึ้น ถือว่าเป็นทรัพย์อันเกิดอันตรายได้โดยสภาพ เมื่อจำเลยเป็นผู้มีไว้ในครอบครอง จำเลยจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ เมื่อจำเลยเป็นผู้มีไว้ในครอบครอง จำเลยจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้น และการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งทรัพย์ดังกล่าวในคลังสินค้าอันตรายของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบแก้ไขอุณหภูมิของอากาศภายในคลังสินค้าอันตรายที่เก็บรักษาทรัพย์นั้นให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมกับอุณหภูมิของอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูการอยู่เสมอ ทั้งไม่ได้ความว่าการเก็บรักษาสินค้าอันตรายของจำเลยตามวิธีการขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศที่จำเลยเป็นสมาชิกเหมาะสมกับสภาวะอากาศของประเทศที่มีอากาศร้อนเช่นประเทศไทยหรือไม่ ทั้งจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบแสดงว่าจำเลยมีวิธีการจัดเก็บรักษาสินค้าอันตรายในฤดูร้อนซึ่งอุณหภูมิของอากาศภายในคลังสินค้าอันตรายนั้นสูงกว่าฤดูกาลอื่น แตกต่างกับฤดูกาลอื่นอย่างไร และถ้าเกิดความร้อนภายในคลังสินค้าอันตรายขึ้นแล้ว ไม่มีใครอาจจะแก้ไขหรือป้องกันได้แม้จะจัดการระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม ที่จำเลยอ้างว่าอุณหภูมิของอากาศภายในคลังสินค้าอันตรายสูงขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัยจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538
(นาย นรุสส์ จันวัฒนะ โจทก์ เทศบาลเมืองสงขลากับพวก จำเลย)
ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกรวง แม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุ แต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสั้นๆ และความเร็วของลมก็เป็นความเร็วปรกติ การที่ต้นสนล้มลงทับรถยนตร์โจทก์จึงไม่ใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน แต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2537
(นาย ชลัช ปาลเดชพงษ์ กับพวก โจทก์ กรมทางหลวง จำเลย)
จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลสายไฟฟ้าใต้ดิน และอุปกรณ์ไฟฟ้าบริเวณทางเท้า ตรงทางเท้าที่เกิดเหตุมีรอยแตกแยกชำรุดและเมื่อขุดลงไปปรากฎว่าสายไฟฟ้าที่เกิดเหตุฝังลึกเพียง 20 เซนติเมตร ซึ่งตามปรกติจะฝังลึกจากพื้นดินประมาณ 60 เซนติเมตร และมีรอยชำรุดโดยไม่มีฉนวนหุ้มเมื่อขุดและยกสายไฟฟ้าขึ้น สายไฟฟ้าใต้ดินได้หลุดออกจากันหากสายไฟฟ้าไม่ชำรุดถึงแม้น้ำจะท่วมสูงขนาดไหนไฟฟ้าก็จะไม่ลัดวงจร ทั้งจำเลยมีเครื่องเมกเกอร์สำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วหลังเกิดเหตุแล้วได้ใช้เครื่องดังกล่าวเพียงครั้งเดียว ก่อนหน้านั้นไม่เคยใช้เลย หากจำเลยใช้เครื่องดังกล่าวตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วที่สายเคเบิ้ลใต้ดินบ่อยๆ จำเลยอาจป้องกันแก้ไขกระแสไฟฟ้ารั่วได้ และหลังจากเกิดเหตุแล้วการไฟฟ้านครหลวงได้มีหนังสือถึงจำเลยแนะนำให้เดินสายไฟฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุใหม่ โดยให้เดินในท่อเหล็กขนาดหนา ดังนี้การที่บุตรโจทก์เดินไปบริเวณทางเท้าที่มีน้ำท่วมขังและถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนถึงแก่ความตายจึงเป็นเหตุที่อาจป้องกันได้ หากจำเลยจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลสายไฟฟ้าที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ ทั้งที่มีเครื่องมือสามารถตรวจสอบได้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะอ้างเพื่อบอกปัดความรับผิดได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

สัญญาจ้างเหมาบริการ ไทย-อังกฤษ

อันนี้เป็นตัวอย่างการแปล "สัญญาจ้างเหมาบริการ" จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

-----------------------------------------
สัญญาว่าจ้างเหมาบริการ

สัญญาว่าจ้างเหมาบริการฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่...... เดือน............ พ.ศ........ ณ บริษัท จำกัด
ระหว่าง บริษัท ................................................... จำกัด
ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ .......................................
สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ .............................
.......................................................................
ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง
และ
ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้รับจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่
ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์ที่จะว่าจ้างเหมาบริการ และผู้รับจ้างมีความประสงค์ที่จะรับจ้างเหมาให้บริการ โดยจัดส่งพนักงานของผู้รับจ้าง ไปให้บริการแก่ผู้ว่าจ้างตามข้อกำหนด และเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้
คู่สัญญาจึงตกลงทำสัญญากัน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. คำจำกัดความ
1.1 ภายใต้สัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาตกลงกำหนดคำจำกัดความไว้ดังต่อไปนี้
“สัญญา” หมายถึง สัญญาว่าจ้างเหมาบริการฉบับนี้ รวมถึงเอกสารแนบท้ายสัญญาที่ทำขึ้นทั้งหมด
“บริการ” หมายถึง บริการที่ผู้รับจ้างจะให้แก่ผู้ว่าจ้าง ตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกัน และได้ระบุเอาไว้ในสัญญาฉบับนี้
“ผู้ว่าจ้าง” หมายถึง บริษัท........................................................... จำกัด
“ผู้รับจ้าง” หมายถึง บริษัท
“พนักงาน” หมายถึง บุคคลากรจำนวนหนึ่งคน หรือหลายคนที่ผู้รับจ้างจัดหามาเป็นลูกจ้างของผู้รับจ้าง และจัดส่งไปให้บริการทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง ในงานต่างๆที่มิใช่งานส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง เพื่อให้บริการจ้างเหมาบริการตามสัญญาฉบับนี้
ระยะเวลาของสัญญาจ้างเหมาบริการ
2.1 สัญญาฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา.............. โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่....................................จนถึงวันที่............................................ หรือเว้นแต่สัญญาได้สิ้นสุดลงตามเงื่อนไขใดๆ ดังที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้
2.2 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิขยายระยะเวลารับการให้บริการจ้างเหมาบริการดังกล่าวออกไปได้ โดยแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 30 (สามสิบ) วัน ก่อนครบกำหนดระยะเวลาในข้อ 2.1 และเมื่อผู้รับจ้างได้รับแจ้งจากผู้ว่าจ้างแล้ว หากผู้รับจ้างตกลงที่จะขยายระยะเวลาการให้บริการจ้างเหมาบริการตามสัญญาฉบับนี้ ให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำข้อตกลงขยายระยะเวลาของสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมทั้งระยะเวลาที่ได้รับการขยายให้เป็นไปตามที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำการตกลงกันตามข้อตกลงดังกล่าว
ขอบเขตของการบริการจ้างเหมาบริการ
ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างเหมาบริการ และผู้รับจ้างตกลงรับจ้างเหมาให้บริการ โดยจะจัดส่งพนักงานของผู้รับจ้างที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ และนโยบายของผู้ว่าจ้าง ไปประจำอยู่ ณ สำนักงานของผู้ว่าจ้าง หรือสถานที่อื่นใดตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งงานที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ตามรายละเอียดปรากฏในเอกสารแนบท้ายหมายเลข ก. ที่แนบท้ายสัญญาฉบับนี้ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้
ค่าบริการ
4.1 คู่สัญญาตกลงว่าค่าบริการจ้างเหมาบริการของผู้รับจ้างสำหรับการให้บริการตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ จะเป็นไปตามที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายหมายเลข ข. ซึ่งแนบท้ายสัญญาฉบับนี้ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้
4.2 ผู้รับจ้างจะทำการเรียกเก็บค่าบริการตามข้อ 4.1 เป็นรายเดือนตามเดือนปฏิทิน โดยจัดส่งใบเรียกเก็บค่าบริการ รวมทั้งค่าบริการพิเศษ (ถ้ามี) ที่ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้าง เมื่อสิ้นสุดเดือนปฏิทินที่ให้บริการนั้น และผู้ว่าจ้างจะชำระค่าบริการ รวมทั้งค่าบริการพิเศษ (ถ้ามี) ให้แก่ผู้รับจ้าง ภายใน ......... วัน(...................) นับแต่วันที่ที่ระบุไว้ในใบเรียกเก็บค่าบริการ และผู้รับจ้างมีสิทธิคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ .............. (............................) ต่อเดือน กรณีที่ผู้ว่าจ้างชำระค่าบริการล่าช้าเกินกำหนด จนกว่าผู้ว่าจ้างจะชำระค่าบริการที่ค้างชำระให้แก่ผู้รับจ้างจนเสร็จสิ้นครบถ้วน
4.3 หากพนักงานที่ผู้รับจ้างจัดหาส่งไปให้บริการทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง โดยต้องทำงานเกินกว่าเวลาทำงาน ตามที่ระบุในเอกสารแนบท้ายหมายเลข ก. ตามที่ผู้ว่าจ้างร้องขอ ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าบริการพิเศษให้แก่พนักงานดังกล่าว ตามเงื่อนไขและอัตราที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้
4.4 ค่าบริการตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
หน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบ
5.1 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
5.1.1 ผู้รับจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานที่จัดส่งไปประจำสำนักงานของผู้ว่าจ้าง อันประกอบด้วย เงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งการปฏิบัติงานตามกฎหมายแรงงานในฐานะนายจ้างของพนักงานที่จัดส่งไปประจำสำนักงานของผู้ว่าจ้างทุกประการ
5.1.2 ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งพนักงานที่ขยันขันแข็ง มีความประพฤติดีเพื่อให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ให้กับผู้ว่าจ้าง และพนักงานดังกล่าวจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ให้แก่ผู้ว่าจ้าง แต่ทั้งนี้หากผู้ว่าจ้างเห็นว่าพนักงานดังกล่าวมีความประพฤติไม่เรียบร้อย หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม หรือบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ ผู้รับจ้างตกลงจะดำเนินการแก้ไข หรือเปลี่ยนตัวพนักงานดังกล่าวให้แก่ผู้ว่าจ้างภายในระยะเวลาอันสมควร
5.1.3 ผู้รับจ้างตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ว่าจ้าง สำหรับกรณีการสูญหายหรือความเสียหายที่เกิดกับเอกสาร หรือทรัพย์สินใดๆ ของผู้ว่าจ้าง อันเนื่องมาจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือความทุจริตของผู้รับจ้าง หรือพนักงานของผู้รับจ้าง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ โดยผู้รับจ้างจะชดใช้ให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่เสียหายจริงที่ผู้ว่าจ้างสามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานอันเพียงพอ ทั้งนี้ ผู้ว่าจ้างตกลงว่าค่าเสียหายที่ผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ดังกล่าวจะไม่เกิน............................บาท (.....................................บาท) ต่อครั้ง ที่เกิดความสูญหายหรือเสียหายในทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง
5.1.4 ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้าของผู้ว่าจ้าง และ ไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ว่าจ้าง อันเกิดจากการสูญเสียกำไร รายได้ การใช้ หรือชื่อเสียงทางการค้า การขาดทุน หรือการสูญเสียเงิน หรือการเรียกร้องอื่นใดในรูปของค่าเสียหายโดยอ้อม หรือค่าเสียหายพิเศษ เว้นแต่ความเสียหายที่เกิดจากความจงใจของผู้รับจ้าง
5.1.5 ผู้รับจ้างทราบดีว่า พนักงานของผู้รับจ้างจะไม่ถือเป็นลูกจ้างของผู้ว่าจ้าง อย่างไรก็ตาม โดยไม่คำนึงถึงข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ พนักงานของผู้รับจ้างถือเป็นลูกจ้างของผู้รับจ้างเท่านั้น โดยผู้รับจ้างจะรับผิดชอบดูแลเรื่องต่างๆ อันเกี่ยวกับเรื่องของค่าจ้าง กฎระเบียบต่างๆ การหักภาษี และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นนายจ้างและลูกจ้าง
5.1.6 ผู้รับจ้างจะควบคุมบังคับบัญชาให้พนักงานของผู้รับจ้างปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการเข้า-ออก และรักษาความปลอดภัยของผู้ว่าจ้าง รวมทั้งระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และคำสั่งโดยชอบอื่นๆ ของผู้ว่าจ้างที่กำหนดไว้แล้ว และที่จะกำหนดต่อไปในอนาคต
5.2 หน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง
5.2.1 ผู้ว่าจ้างจะต้องชำระค่าบริการจ้างเหมาบริการให้แก่ผู้รับจ้าง ตามอัตราค่าบริการและกำหนดเวลาชำระค่าบริการตามที่ระบุในสัญญาฉบับนี้
ผู้ว่าจ้างจะต้องจัดให้มีสถานที่ปฏิบัติงานให้บริการจ้างเหมาบริการ รวมถึงจัดให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติตามตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ รวมตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวก และสวัสดิการต่างๆที่จำเป็นให้แก่พนักงานของผู้รับจ้าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่และให้บริการจ้างเหมาบริการแก่ผู้ว่าจ้างได้สำเร็จตามความประสงค๋ของผู้ว่าจ้าง
การสิ้นสุดของสัญญา
6.1 คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อาจบอกเลิกสัญญาได้ โดยต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 (สามสิบ) วัน
6.2 หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใดๆ ดังที่กำหนดในสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้แจ้งเตือนเป็นหนังสือให้ทราบก่อนแล้ว แต่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาบริการ หรือแก้ไขเหตุแห่งการผิดสัญญาดังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลา...วัน นับจากวันที่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้รับคำบอกกล่าวเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ได้
6.3 หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตกเป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีล้มละลาย หรือเลิกบริษัท หรือถูกชำระบัญชี หรือถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะการพิทักษ์ทรัพย์ การจัดการทางศาล หรือกระบวนการในทำนองเดียวกันนี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ได้
การปรับโอนพนักงาน
7.1 ในระหว่างอายุสัญญานี้ หากผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะบรรจุพนักงานของผู้รับจ้างเข้าเป็นพนักงานประจำของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างจะต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้รับจ้างทราบถึงการบรรจุพนักงานของผู้รับจ้างล่วงหน้าอย่างน้อย 30 (สามสิบ) วัน และผู้ว่าจ้างยินยอมชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ระยะเวลาการเข้าปฏิบัติงาน (เดือน)
เงินที่ต้องชำระเป็นจำนวน กี่เท่าของเงินเดือน
6 หรือน้อยกว่า 15
7 1.4
8 1.3
9 1.2
10 หรือมากกว่า 1
ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
การให้บริการภายใต้สัญญาจ้างเหมาบริการนี้ เป็นการประกอบอาชีพอิสระ ในลักษณะการจ้างเหมาบริการเพื่อมุ่งความสำเร็จในงานที่จ้าง มิใช่เป็นการประกอบการร่วมกันระหว่างคู่สัญญา ในฐานะหรือในลักษณะหุ้นส่วน การร่วมค้า การแต่งตั้งตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการ หรือการเป็นนายจ้าง ลูกจ้างระหว่างผู้ว่าจ้าง และผัรับจ้าง หรือพนักงานใดๆ ของผู้รับจ้างแต่อย่างใดทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้รับจ้างยังคงเป็นนายจ้างของพนักงานที่จัดหามาเพื่อให้บริการจ้างเหมาบริการภายใต้สัญญานี้ และจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ้างงานพนักงานตามกฎหมายแรงงานทุกประการ
การโอนสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาจ้างเหมาบริการ
คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีสิทธิโอนสิทธิและหน้าที่ หรือผลประโยชน์ตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อน
การรักษาความลับ
คู่สัญญาตกลงว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับใดๆ ที่ได้รับทราบจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งจะต้องควบคุมพนักงาน หรือลูกจ้างของคู่สัญญาไม่ให้เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับดังกล่าวให้บุคคลภายนอกทราบ หรือนำข้อมูลที่เป็นความลับไปใช้ประโยชน์ในทางใดๆ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว หรือเปิดเผยตามกระบวนการพิจารณาทางศาล หรือตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานราชการ
เหตุสุดวิสัย
หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญานี้ได้ เพราะเหตุสุดวิสัย คู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบภายใน 15 (สิบห้า) วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุสุดวิสัยนั้น
ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ได้ เนื่องจากเหตุสุดวิสัยต่อเนื่องกันเป็นเวลาเกินกว่า 30 (สามสิบ) วัน นับแต่วันแจ้งเหตุสุดวิสัยดังกล่าว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ได้ โดยส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 (สิบห้า) วัน
“เหตุสุดวิสัย” ที่กล่าวถึงในวรรคแรก หมายถึง เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบ หรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ และภาวะเช่นนั้น
การเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือแก้ไขสัญญาจ้างเหมาบริการ
สัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ อาจมีการแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยที่คู่สัญญาตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือตัวแทนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
ความไม่สมบูรณ์ของสัญญา
หากข้อกำหนด เงื่อนไข หรือข้อสัญญาใดของสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้เป็นโมฆะ หรือไม่สมบูรณ์ คู่สัญญาตกลงให้ข้อกำหนด เงื่อนไข หรือข้อสัญญาที่เป็นโมฆะ หรือไม่สมบูรณ์นั้นแยกต่างหากจากข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อสัญญาส่วนที่สมบูรณ์ และให้ข้อกำหนด เงื่อนไข หรือข้อสัญญาที่สมบูรณ์นั้นใช้บังคับได้ และจะพยายามอย่างเต็มที่ และโดยสุจริตที่จะทำการแก้ไขข้อสัญญาที่เป็นโมฆะ หรือไม่สมบูรณ์นั้นให้เป็นข้อสัญญาที่สมบูรณ์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่คู่สัญญาได้มีเจตนาตามการคาดหวัง และตกลงกันไว้แต่แรกตามข้อสัญญานั้นๆ
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
คู่สัญญาตกลงว่าจะไม่กระทำการ หรือยินยอมให้มีการกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งถูกรอนสิทธิ ถูกละเมิด หรือได้รับความเสียหาย
กฎหมายที่ใช้บังคับ
สัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ อยู่ภายใต้บังคับ และการตีความตามบทบัญญัติของกฎหมายไทย
ข้อตกลงอื่นๆ
บรรดาหนังสือติดต่อ ทวงถาม บอกกล่าว หรือเอกสาร หรือหนังสืออื่นใดที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือนำไปใช้ภายใต้สัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และส่งไปตามที่อยู่ที่ปรากฏข้างล่างนี้
สำหรับผู้รับจ้าง
ที่อยู่


สำหรับผู้ว่าจ้าง
ที่อยู่ ...................................................................................

16.2 การเพิกเฉยของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการบังคับตามข้อตกลงภายใต้สัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ ไม่ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นสละสิทธิ หรือยกเว้นข้อตกลงนั้น หรือไม่ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นสละสิทธิของตนเองในการบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวในภายหลัง ตลอดจนไม่ถือเป็นการตกลงสละสิทธิหรือยกเว้นในการผิดข้อตกลงนั้น หรือข้อตกลงอื่นๆ ต่อไปภายใต้สัญญาฉบับนี้
16.3 เอกสารแนบท้ายใดๆ ตามสัญญาฉบับนี้ ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ รวมทั้งที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไป หากข้อความใดในเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างเหมาบริการขัดหรือแย้งกับข้อความตามสัญญาฉบับนี้ ก็ให้ใช้ข้อความในสัญญาฉบับนี้ใช้บังคับต่อไป

สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเป็น 2 (สอง) ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้ว เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายทุกประการ จึงได้ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญ (ถ้ามี) ไว้ต่อหน้าพยาน ณ วัน เดือน ปี ที่ระบุข้างต้น
ลงนามเพื่อและในนามของ
บริษัท .....................................................จำกัด
โดย
...................................................... ผู้มีอำนาจกระทำการแทน
( )
ลงนามเพื่อและในนามของ
โดย
...................................................... ผู้มีอำนาจกระทำการแทน
( )
ลงชื่อ.................................................. พยาน
( )
ลงชื่อ ..................................................พยาน
( )



เอกสารแนบท้ายสัญญา

เอกสารแนบท้ายหมายเลข ก - รายละเอียดเกี่ยวกับการบริการ

เอกสารแนบท้ายหมายเลข ข - รายละเอียดเกี่ยวกับค่าบริการ

เอกสารแนบท้ายหมายเลข ก
รายละเอียดของการบริการ
ตำแหน่ง
คุณสมบัติของพนักงาน
จำนวน (คน)
สถานที่ปฏิบัติงาน
เวลาทำงาน

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้างต่อพนักงาน
1. จ่ายเงินเดือนให้พนักงาน รวมทั้งค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด(ถ้ามี)
2. ค่าครองชีพ
3. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
4. เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
5. การประกันสุขภาพ / การประกันอุบัติเหตุ และการประกันชีวิต
6. หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
7. อบรม และปฐมนิเทศพนักงานก่อนจัดส่งให้บริการจ้างเหมาบริการแก่ผู้ว่าจ้าง เพื่อให้ทราบเรื่องกฎระเบียบของบริษัท ขั้นตอนทำงาน สวัสดิการต่างๆ ตลอดจนข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามในการทำงาน ฯลฯ
ทั้งนี้ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้างต่อพนักงานแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน ดังนั้น ผู้รับจ้างขอสงวนสิทธิในการทำความตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบต่อพนักงานของผู้รับจ้างแต่ละรายไป
เอกสารแนบท้ายหมายเลข ข.
รายละเอียดเกี่ยวกับค่าบริการจ้างเหมาบริการ
ตำแหน่ง
ค่าบริการ (บาท)
เงินเดือน (บาท)
เงินส่วนเพิ่มเท่ากับอัตราร้อยละ........ต่อเงินเดือนต่อคน
หมายเหตุ

1. ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าบริการจ้างเหมาบริการตามสัญญาฉบับนี้ให้แก่ผู้รับจ้าง ตามอัตราค่าจ้าง, ค่าเบี้ยขยัน, ค่าครองชีพ, ค่าล่วงเวลา, ค่าพาหนะล่วงเวลา ของพนักงานที่มาปฏิบัติงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง รวมกับเงินส่วนเพิ่มที่คู่สัญญากำหนดไว้ โดยค่าบริการต่อเดือน/ ต่อพนักงาน จำนวน 1 (หนึ่ง) อัตรา ที่ให้บริการแก่ผู้ว่าจ้าง เท่ากับผลรวมของจำนวนเงินดังต่อไปนี้
¨ ค่าจ้างพนักงาน
¨ ค่าครองชีพ
¨ เบี้ยขยัน
¨ ค่าล่วงเวลา / ค่าทำงานในวันหยุด
¨ ค่าพาหนะล่วงเวลา
Incentive
¨ เงินส่วนเพิ่ม จำนวน........................... บาท ของค่าจ้างตาม (1) และเงินจำนวนเท่ากับอัตราร้อยละ .............................ของ...........................
¨ กรณีมีการจ่ายค่าชดเชย ในกรณีมีการเลิกจ้าง
¨ ผู้ว่าจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานพร้อมกับค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ในอัตรา 3 (สาม) เปอร์เซ็นต์ของค่าชดเชย
¨ ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

2. หากพนักงานของผู้รับจ้างไม่มาปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างเหมาบริการฉบับนี้ให้แก่ผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้ว่าจ้างอาจแจ้งให้ผู้รับจ้างจัดหาพนักงานอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และหากผู้รับจ้างไม่สามารถจัดหาพนักงานอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนได้ ผู้รับจ้างตกลงให้ผู้ว่าจ้างหักเงินออกจากค่าบริการที่ผู้ว่าจ้างจะต้องชำระให้แก่ ผู้รับจ้างได้ ในอัตราวันละ.......................บาท / ต่อวัน / ต่อพนักงาน 1 (หนึ่ง) อัตรา
3. การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้ว่าจ้างจะพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้แก่ผู้รับจ้าง อย่างน้อยที่สุดตามประกาศเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำของกระทรวงแรงงาน
4. การคำนวณค่าจ้างรายวัน
4.1 การคำนวณค่าจ้างวันทำงานปกติ
ค่าจ้างใน 1 เดือน = จำนวนวันทำงานปกติ x อัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติ
4.2 การคำนวณค่าทำงานในวันหยุด (วันหยุดประจำสัปดาห์)
ค่าทำงานวันหยุดต่อชั่วโมง = (อัตราค่าจ้างพนักงานต่อวันทำงานปกติ x 2) / (8 ชั่วโมงทำงาน/วัน)
4.3 การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ
ค่าทำงานล่วงเวลาปกติต่อชั่วโมง = (อัตราค่าจ้างพนักงานต่อชั่วโมงทำงานปกติ x 1.5)
4.4 การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดต่อชั่วโมง = (อัตราค่าจ้างพนักงานต่อชั่วโมงทำงานปกติ x 3)


*****************************************************

Service Contractor Contract

This Contract was made at , on date month year
By and between บริษัท ................................................... จำกัด
Juristic person registration no. ....................................
With the principal office located at .............................
.......................................................................
hereinafter referred to as “The Hirer”.
and
With the principal office located at
hereinafter referred to as “the Contractor”.
Whereas
The Hirer wish to hire the Contractor for service by lump sum payment, and the Contractor wish to render service to the Hirer by assigning the Contractor’s Staff to perform service to the Hirer subject to the terms and condition specified herein.
Both parties hereby agree to enter into the Contract as of the following details.

1. Definition
1.1 Under this Contract, both parties agree that the following terms shall has the meanings as stated below.
“Contract” means this Service Contractor Contract including all of its executed Exhibits.
“Service” means Service that the Contractor shall render to the Hirer as agreed upon by both Parties and specified within this Contract.
“the Hirer” means
“the Contractor” means
“Staff” means one or many staff(s) that the Contractor employs as its employee and then assigns to perform task service hereunder, for the interests of the Hirer, in kinds of works that does not form a parts in production process nor activities within the scope of responsibility of the Hirer.

Term
2.1 Unless being otherwise terminated pursuant to any conditions specified hereunder, this Contract shall valid for the term of ?? year(s), commencing from ??? until ??? .
2.2 The Hirer has right to extend such term of service, by providing written notice to the Contractor at least 30 (thirty) days before the expiry date as specified in clause 2.1 hereof. Upon receiving such notice from the Hirer, if the Contractor agree to extend the term of service according to this Contract, then both Parties shall made written agreement detailing such term extension of this Contract. The terms and condition for the extension period including the term extended shall be as those agreed upon by both Parties in such written agreement.

Scope of service provided hereunder.
The Hirer agree to hire the Contractor for service by lump sum payment and the Contractor agree to provide such service by assigning the its Staff, who posses certain qualification as stipulated in the Hirer’s objective and policy, to work in position as determined by the Hirer at the Hirer’s office or other place as designated by the Hirer. Said scope of service is detailed in Exhibit A as attached hereto, and deemed as part of this Contract.

Service Fee
4.1 Both parties agree that Service Fee for service rendered hereunder shall be paid in the amount stipulated in Exhibit B as attached hereto and deemed as part of this Contract.
4.2 The Contractor will invoice the Hirer for the Service Fee pursuant to clause 4.1 hereof on the monthly basis, by sending an invoice for Service Fee and extra Service Fee (if any) owed to the Contractor on the last day of each calendar month. The Hirer agree to pay Service Fee and extra Service Fee (if any) to the Contractor within ?? days ( ) from the date specified in each invoices. If payment is not made by such due date, the Contractor shall be entitled to demand penalty from the Hirer at the rate of ?? ( ) percent per month accruing on outstanding invoice until such invoice is paid by the Hirer in full amount.
4.3 If the Staff, who has been assigned to perform service for the Hirer, is requested by the Hirer to continues working beyond normal working hour as specified in Exhibit A, the Hirer agree to pay an extra Service Fee for such Staff’s overtime work according to condition and rate as agreed upon by both parties.
4.4 Service Fee under this Contract shall exclude VAT, and subject to income tax withholding at the rate required by laws.

Duty and scope of responsibility
5.1 Duty and responsibility of the Contractor
5.1.1 The Contractor shall be responsible for paying expenditure incurred in connection with the Staff assigned to work at the Hirer’s office, which comprise of monthly remuneration and all welfares, including responsibility to comply to all requirement imposed on the Contractor under labor laws in the capacity of the employer of those Staff
5.1.2 The Contractor shall assign Staff who is diligent and well behaved to work under the Hirer’s command and such Staff must posses proper qualification needs to carry out his/her duty hereunder. However if the Hirer is of view that such Staff does not behave or work improperly or carelessly, then upon receiving notices the Contractor agree to remedy said conduct or replace said Staff within reasonable period.
5.1.3 The Contractor agree to pay damages to the Hirer in case that loss or damage occur to any documents or property of the Hirer as a result of an act that intentionally, or negligently, or dishonestly committed by the Contractor or its Staff. The amount of damages paid by the Contractor to the Hirer shall be those real sustained damage that could be supported by sufficient evidence, however in all circumstance the Hirer acknowledge and agree that such amount shall not exceed ?? ( ) Baht per incident of loss or damage against the Hirer’s property.
5.1.4 The Contractor shall not be held responsible for the Hirer or its customer, and shall not be held liable to pay damages to Hirer for loss of expected profit, income, usage, goodwill, ordinary loss or monetary loss or any other claims demanding for indirect damages, special damages, except for damages resulting from intentional act of the Contractor.
5.1.5 The Contractor acknowledge and agree that its Staff shall not be deemed as the Hirer’s employee under labor laws, However, notwithstanding any provision contain herein, the Contractor’s Staff shall be deemed as employee solely of the Contract under labor laws. To that end, the Contractor shall be responsible to administer all matters relation to wages payment, labor laws compliance, income tax withholding and any other matters relating or arising from employee-employer relationship.
5.1.6 The Contractor shall supervise its Staff to comply with rules on clocking in – out and any security measures within the Hirer’s premises, including work rules and other Hirer’s lawful order that has already been prescribed and those that shall be prescribed from time to time in the future.
5.2 Duty and Scope of responsibility of the Hirer
5.2.1 The Hirer shall pay Service Fee to the Contractor at the rate and by term of payment specified herein
The Hirer shall provide working area with tool and equipment need to perform service of the Staff in performing those position including necessary facility and welfare for the Contractor’s Staff, so that duty to provide service hereunder shall be implemented to the Hirer’s desire.

Termination of the Contract
6.1 Any party may terminate this Contract upon providing written notice to other party at least 30 (thirty) days in advance.
6.2 If any party to this Contract is in breach or fail to comply to any condition as specified in this Contract and the non-breaching party has provide written notices thereof, however the breaching party fail to comply with the Contract or fail to correct such breach within ?? ( ) days upon receiving such written. The non-breaching party shall be entitled to terminate this Contract.
6.3 If any party become bankruptcy, or is filed with law suit in Bankruptcy Court, or is liquidated or wind up, or subject to enforcement of court judgment regarding property including but not limited to property guardianship, court administration or any other legal proceeding in the same nature, the other party shall be entitled to terminate this Contract.

Transfer of Staff
7.1 During the term of this Contract, if the Hirer wish to engage Contractor’s Staff to become its permanent employee, the Hirer shall notify the Contractor in writing at least 30 (thirty) days before the transfer will be take effect, and the Hirer agree pay the Contractor the amount of charge for each transfer at the rate stipulated below.
Period of working (month) Amount of charges in times to monthly remuneration
6 or less 1.5
7 1.4
8 1.3
9 1.2
10 or more 1

Relationship between Parties
In providing service hereunder, the Contractor is an independent operator hired to perform it duty for the completion of work. This Contract shall not be deemed to establish relationship such as partnership, Joint Venture, or authorized agent, or employee-employer or other relationship except specified herein between the Hirer and the Contractor or its Staff. The Contractor acknowledge and agree that it shall remain the sole employer of the Staff assigned hereunder and shall take all responsibility imposed on it by labor laws in capacity as lawful employer.

The transfer of right and duty hereunder
Both parties shall not wholly or partially transfer their right and duty hereunder to any other third party, unless receive prior written consent from other party.

Confidentiality
Both parties agree not to disclose any confidential information receive from other party under this Contract, and shall prevent its staff or employee from disclosing such confidential information to any other third party, or seeking interest in any manners by using such confidential information, unless receive prior written consent from other party or disclose in the course of Court proceeding or by other government requirements.

Force Majeure
If any party to this Contract are unable to perform its duty hereunder as a result of force majeure event, said party must notify other party therefor within 15 (fifteen) day after the occurrence of such force majeure.
In case that any party to this Contract has been being unable to perform its duty because of force majeure for the consecutive period exceeding 30 (thirty) days commencing from the date of notifying such force majeure, each of both parties shall be entitled to terminate this Contract by delivering written notice to other party at least 15 (fifteen) days prior the before effect of termination.
“Force Majeure”, as mentioned in first paragraph, shall denote any event that happening or pernicious results of which could not be prevented even though a person against whom it happen or threaten to happen were to take such appropriate care as might be expected from him in his situation and in such condition.

Modification, Supplement and Amendment
This Contract can be wholly or partially modified, supplemented or amended only by written agreement made and signed by both parties’ authorized representative or agent.

Severability
If any provision, condition or clause of this Contract become void or invalid, both parties agree that such void or invalid provision, condition or clause shall be separate from the valid provision, condition or clause, the remaining valid provision, condition or clause shall be full enforceable. Both parties shall make effort in good faiths to amend the void or invalid part to be the valid texts in order to realized the intention as expected in such previous agreed Contract.

Intellectual Property Right
Both parties to this Contract agree that they will not act or consent to any actions that will cause other party’s intellectual property right to be deprived, infringed or damaged.

Governing laws
This Service Contractor Contract is governed and construed under law of Thailand.

Miscellaneous
16.1 All correspondences, claims, notice or other documents or letters that one party sent to other party or used under this Service Contractor Contract shall be made in writing and delivered to the following address.
For the Contractor
Address
For the Hirer
Address ...........................................................................................

16.2 Any failure of any party to enforce its right under any provision of this Contract shall not be deemed that such party waive or grant exception to such provision, or waiving it right to enforce the provision the latter event of default, also it shall not be deemed as agreement for waiving or granting exception for the breach of such provision that may occur in the future.
16.3 Any Exhibits attached to this Contract shall be deemed as part of this Service Contractor Contract, including any of its amendment that shall be made from time to time in the future. If any provision of the Exhibit is contrary or inconsistent with the provision of this Service Contractor Contract, the Service Contractor Contract shall prevail.

This Contract was made in 2 (two) duplicates, both of which has the correct and identical texts. Both Parties has thoroughly read this Contract and found that they are true to each Party’s intention, and both Parties has affixed their signatures and seal (if any) in recognizance thereof, before witness on date month year above mentioned.
Signed for and on behalf of
บริษัท .....................................................จำกัด
by
.................................................... Its authorized representative
( )
Signed for and on behalf of
โดย
.................................................... Its authorized representative
( )
Signed ............................................. Witness
( )
Signed ............................................. Witness
( )


Exhibit to this Contract

Exhibit A - Details of Service

Exhibit B - Details of Service fee
Exhibit A
Details of Service
Position
Staff Qualification
number (person)
Place of work
Working hour


Duty and resposibility of the Contractor toward the Staff
1. Payment of monthly remuneration to Staff including their overtime pay, holiday pay (if any).
2. Stipend
3. Contribution to Social Security Fund
4. Contribution to Work Compensation Fund
5. Health insurance/ Accident insurance and Life insurance
6. Withholding of personal income tax
7. Arrange for Staff’s training and orientation prior to assigning them to perform service for the Hirer, so that the they are well-informed on company rules and regulation, work procedures, welfare including workplace’s Do’s and Don’ts etc.
Both Parties agree that duty and responsibility of Contractor toward each Staff may vary from individual Staff to other, so the Contractor reserve the right to made an agreement regarding duty and responsibility toward each of Contractor’s Staff on a case by case basis.
Exhibit B
Defails of Service Fee
Position
Service Fee (Baht)
Salary (Baht)
Extra charges at the rate of ?? percent of each person’s monthly remuneration
Remarks

1. The Hirer shall pay Service Fee hereunder for the according to rate of basic pay, incentive, stipend, overtime, overtime travelling expense for each individual Staff who perform service for the Hirer, including extra charges as agreed by both parties. Thus the monthly Service Fee for 1 staff shall be the sum of the following pay of that Staff.
¨ Staff’s basic pay
¨ Stipend
¨ No-leave incentives
¨ Overtime pay / Holiday pay
¨ Overtime travelling expense
Incentives
¨ The extra charge for the amount of ?? the remuneration in clause 1 and the amount of money equal to ?? percent of ??
¨ Payment of severance pay in case of the termination of employment
¨ The Hirer shall be responsible for paying severance pay under labor law plus the administrative fee of 3 (three) percent of amount of the severance pay
¨ The Contractor shall be responsible for paying severance pay under labor laws.

2. If the Contractor Staff fail to perform service hereunder from whichever cause, the Hirer may notify the Contractor to assign other Staff to perform the service, and if the Contractor fail to assign other Staff the the Contractor agree to allow the Hirer to deduct the amount of money from Service Fee at rate of ?? Baht/day/ 1 staff
3. For the adjustment of the minimum rate of pay, the Hirer shall consider adjusting the minimum rate of pay for calculation Service Fee paid to the Contractor for the amount of at least as specified in Notification of Ministry of Labor.
4. Formula for the calculation of monthly remuneration.
4.1 The calculation of basic pay in normal working day
Basic pay for 1 month = number of normal working day x daily rate for normal working day
4.2 The calculation of holiday pay (weekly holiday)
Hourly rate of holiday pay = (Staff daily rate of basic pay for one normal working day x 2) / (8 working hours/day)
4.3 The calculation of overtime pay in normal working day
Hourly rate of overtime pay = (Staff hourly rate of basic pay x 1.5)
4.4 The calculation of holiday overtime pay
Hourly rate of holiday overtime pay = (Staff hourly rate of basic pay x 3)