วันอังคารที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

คำแปลคำพิพากษา

อันนี้เป็นก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคำพิพากษาศาลไทยที่ต้องแปลไปให้ฝรั่งอ่าน
ประเด็นในคดีนี้มีว่า คนไทยขายของให้ฝรั่ง สินค้าที่ขายเป็นสินค้าที่ราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเร็วมาก ตอนแรกฝ่ายลูกความเราเสนอราคาไปแล้ว ฝรั่งมันก็เฉยไม่ยอมตอบมาว่าขายไม่ขายเพราะราคาที่เราเสนอไปถูกกว่าในท้องตลาด แต่ต่อมาไม่กี่วันราคาสินค้าในตลาดตกลง ฝรั่งมันก็รีบตอบรับกลับมาแล้วบอกให้เราเตรียมรับสินค้า ซึ่งเราก็บอกว่าระยะเวลาที่จะทำคำสนองรับมันเลยมาแล้ว คำเสนอมันสินความผูกพันไปแล้ว แต่ฝรั่งมันก็ไม่ยอม มันก็บอกว่าถือว่าสัญญาเกิดแล้ว และเราผิดสัญญามันก็ทำอนุญาโตตุลาการของมันไปฝ่ายเดียว เราก็ยื่นคำแถลงต่ออนุญาโตตุลาการว่าฝรั่งมันไม่มีอำนาจเพราะสัญญายังไม่เกิดเลย ตามนัยฏีกาข้างล่าง แต่คณะอนุญาโตตุลาการพี่ท่านก็ไม่สน ก็ตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาต่อไปจนมีคำชี้ขาดออกมา และเมื่อเอามาบังคับที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาก็ถูกศาลทรัพย์สินทางปัญญาเพิกถอน เพราะสัญญาซื้อขายยังไม่เกิด
เชิญอ่านคำพิพากษาได้เลยครับ
--------------------------------------

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2520
บริษัท เค.ซี.ซี.เทีย (1949) จำกัด โดยนายจอห์น วิลเลียม แฮนค๊อก ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดทวีพืชผล ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 366
ป.วิ.พ. มาตรา 221

โจทก์เป็นบริษัทจำกัดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในประเทศไทย ซ.ผู้แทนโจทก์ติดต่อกับจำเลยที่1ตกลงซื้อขายปอกันซ. และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบปริมาณและราคาที่จะขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันมายังจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งส่งสัญญาซื้อขายมาด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะผู้ขาย โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตส่งมาแต่ล่าช้าและผิดพลาด จำเลยที่ 1จึงไม่ลงชื่อในสัญญาซื้อขาย การซื้อขายปอระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ครั้งก่อน ๆต้องทำเป็นหนังสือทุกครั้ง พฤติการณ์ที่ปฏิบัติกันในการซื้อขายปอรายพิพาทเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้สัญญาซื้อขายมีผลผูกพันกันเมื่อได้ทำหนังสือแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 สัญญาซื้อขายยังไม่มี
________________________________

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศอังกฤษ จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาตกลงจะขายปอกับโจทก์สองครั้งรวม 400 ตัน จำเลยมิได้ส่งปอตามกำหนด ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงค่าเสียหายจำเลยก็ไม่ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด โจทก์ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการของสมาคมปอแห่งกรุงลอนดอน ในที่สุดอนุญาโตตุลาการ (ชั้นที่สุด)ได้ตัดสินให้โจทก์ชนะ และมีคำสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองก็ไม่ชำระ ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมทั้งค่าปรับตามสัญญาและดอกเบี้ย

จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวจากทนายโจทก์ จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายปอกับโจทก์ โจทก์จำเลยยังไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเพราะโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตล่าช้าและผิดพลาด คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้เป็นสมาชิกของสมาคมปอแห่งกรุงลอนดอน ฯลฯ การที่โจทก์ฟ้องคดีทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ต้องเสียค่าทนายความและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ขอให้ยกฟ้อง และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1

ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1

ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์จำเลยยังมิได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เคยซื้อปอจากจำเลยที่ 1มาก่อน การซื้อขายปอกระทำโดยผ่านทางผู้แทนของโจทก์ที่กรุงเทพมหานครส่วนการตกลงซื้อขายเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1 การซื้อขายปอรายพิพาททั้งสองคราวนายโซราเรียผู้แทนของโจทก์เป็นผู้ติดต่อกับจำเลยที่ 1ได้ตกลงซื้อขายปอกันรวม 400 ตัน นายโซราเรียและจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงปริมาณปอและราคาที่จะขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันปริมาณและราคาปอมายังจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งส่งสัญญาซื้อขายมาด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ขาย และโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารเนชั่นแนลแอนด์กริมเลส์ กรุงลอนดอน ส่งมายังธนาคารอินโดจีน จำกัดแต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขาย การซื้อขายปอระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ครั้งก่อน ๆ ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือทุกครั้ง พฤติการณ์ที่ปฏิบัติกันในการซื้อขายดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้สัญญาซื้อขายมีผลผูกพันกัน เมื่อได้ทำเป็นหนังสือแล้ว การที่นายโซราเรียและจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงปริมาณและราคาปอที่จะซื้อขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันมาเป็นเพียงการเจรจาตกลงกันในหลักการที่จะซื้อขายกันเท่านั้น เหตุที่จำเลยที่ 1ปฏิเสธไม่ยอมลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายเพราะโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตล่าช้าและผิดพลาด จำเลยแจ้งให้ธนาคารอินโดจีน จำกัด ทราบว่าไม่ใช้เลตเตอร์ออฟเครดิต และได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่สามารถรับเลตเตอร์ออฟเครดิตได้เนื่องจากโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตล่าช้า ไม่สามารถหาสินค้าและเรือบรรทุกสินค้าได้ทันตามกำหนด ขอให้เจรจากันใหม่ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะปฏิเสธได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขาย จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 สัญญาซื้อขายยังไม่มี โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้

พิพากษายืน
( สุจริต เสถียรกาล - ถนอม ครูไพศาล - แถม ดุลยสุข )

*******************************************
(Tranlsation)
Supreme Court Judgement no. 520/2520
(K.C.C. Tia (1949) Ltd. Plaintiff vs. Tavee Agriculture Limited Partnership and et.al. Defendants.)
Civil Case: Contract (Section 366)
Civil Procedure: Arbitration (Section 221)

Plaintiff and Defendant were in contact for sale of jute by having confirmation letter of the quantity and the price. In accordance with the behavior and former practice it appeared that Plaintiff and Defendant had to make contract in writing first. The Defendant as the seller, did not sign on the sale contract sent from the Plaintiff, it deemed that no sale contract was made. Thus, the arbitration clause specified in the contract was not enforceable. Even despite the statement of defense of the Defendant was filed by the Defendant’s representative in London, it did not deem that the Defendant would concede to accept the binding of the award.

The Court of First Instance and the Appeal Court dismissed the Plaintiff’s claim demanding for damages following the Arbitration Award. The Plaintiff filed an appeal to the Supreme Court.

The Supreme Court contemplated points of law that “ Question in dispute is that whether sale contract of jute is duly existed and the Arbitration Award of London binding the first Defendant.” It was established during the trial that the Plaintiff ever bought jute from the first Defendant. The sale contract was made by mean of the Plaintiff’s representative in Bangkok. The agreement to enter into the sale contract was the issue of negotiation between the Plaintiff and the first Defendant. Both contracts of sale of jute were made by connection of Mr.Choraria the representative of the Plaintiff on April,1 and 5, 1971 with the first Defendant. The parties agreed to buy jute in the amount of 400 tons. Mr. Choraria and the first Defendant sent a letter informing the quantity and the price of jute to the Plaintiff in England as evidenced in the first Defendant’s letter, exhibit Jor. 7, Jor. 8. The Plaintiff sent the confirmation order letter informing the quantity and the price to the first Defendant as evidenced in exhibit Jor. 6 together with the sale contract, exhibits Jor. 2 and Jor. 4. This was for the purpose to have the first Defendant execute its signature in the contract as the seller. The Plaintiff instructed the National and Grimlay Bank, London to open a letter of credit and sent it to the Indochina Bank, Bangkok but the first Defendant did not execute its signature in the sale contract.

Mr. John William Hancock the authorized attorney in fact of the Plaintiff stated in his presentation that Mr. Choraria was only a connecting person for the Plaintiff. He did not have any authorization to enter into the sale contract. The previous agreement for sale of jute in the former time was that the parties had to enter into the written contract every time the contracts were made. The behavior for sale of jute in practice as mentioned above showed that the Plaintiff and the first Defendant had intention of binding the sale contract upon it was made in writing. Where it was established that Mr. Choraria and the first Defendant informed the Plaintiff of the quantity and the price of the jute and the Plaintiff sent the confirmation order letter in return, this was only the principle of negotiation for sale. The reason that the first Defendant did not execute his signature in the sale contract was that the Plaintiff delayed in opening the letter of credit and made error on the letter of credit. The sale contract specified period for goods embargo during April- May 1971. The Indochina Bank informed the first Defendant that the Plaintiff opened the letter of credit on April 22,1971. On that day, the Defendant sent a letter informing the Indochina Bank that the letter of credit would not be in use. On April 20,1971 the first Defendant sent a letter informing the Plaintiff that the letter of credit would not be acceptable since it was a delay letter of credit made by the plaintiff. In this connection, the Defendant could not make arrangement of goods and vessel in time. The Defendant requested for a new negotiation. Normally, the Plaintiff would open the letter of credit within 4 to 6 days after negotiation. As a result, the first Defendant was entitled to reject it. Where the first Defendant did not execute his signature in the sale contract, it deemed that no contract was made in writing pursuant to the Civil and Commercial Code, Section 366. The sale contract was not duly existed. The Plaintiff could not claim that the first Defendant was in breach of the contract and claim for damages.

When it was established during the trial that there was no sale contract of jute in this case, the clause to refer the dispute to arbitration in London as specified in the contract if the dispute arising from the contract was not enforceable. The Plaintiff could not refer the case to the arbitration of London without consent of the first Defendant. The fact as to only the first Defendant appointed a representative to defense its case could not be deemed that the first Defendant gave consent or conceded to bind the arbitration award. Even though England and Thailand are members of the Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards, the Arbitral Award of London could not enforce the first Defendant, thus, both Defendants do not liable to the Plaintiff.

The Supreme Court upheld the judgement of the Appeal Court.

ไม่มีความคิดเห็น: