คำแปลฉบับนี้ และอีกฉบับหนึ่งต่อกันนั้น ได้ใช้ประกอบความเห็นในทางกฎหมายที่ให้แก่ลูกความชาวต่างชาติ ที่ถามมาว่าเค้าซื้อสินค้าจากคนไทย ซึ่งในสัญญาซื้อขายนั้นได้มีข้อสัญญาการรับประกันด้วย เค้าจะฟ้องคนไทยได้หรือไม่ถ้าอายุความเรื่องชำรุดบกพร่องขาดแล้ว (ชำรุดบกพร่องตามมาตรา 474 เป็น 1 ปี)
ในความเห็นที่ตอบไปนั้น บอกว่าสัญญารับประกันมีอายุความ 10 ปี ตามนัยคำพิพากษาศาลฏีกาต่อไปนี้
-----------------------------------------
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2535
จังหวัดแม่ฮ่องสอน โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดรามาเกรส กับพวก จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 164, 474ป.พ.พ.
มาตรา 421, 438, 1337
ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ข้อตกลงพิเศษตามสัญญาไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวซึ่งอยู่ติดกับถนนตลาดสดเทศบาล ที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นบนที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของ จำเลยที่ 3 จนทำให้ที่ดินราชพัสดุกลายเป็นชุมนุมชนและย่านการค้า การที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 สร้างกำแพงพิพาทสูงถึง 3 เมตร กั้น ระหว่างที่ดินราชพัสดุกับที่ดินของโจทก์ แม้กำแพงพิพาทอยู่ในที่ดินราชพัสดุ แต่กำแพงพิพาทปิดกั้นหน้าที่ดินและตึกแถวโจทก์ เห็นได้ว่าไม่สะดวกใน การไปมาติดต่อระหว่างตึกแถวในที่ดินของโจทก์กับตลาดสดเทศบาล กระทรวงการคลังเจ้าของที่ดินราชพัสดุก็ไม่เห็นชอบที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 สร้างกำแพงพิพาทขึ้นและเคยสั่งรื้อไปครั้งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 3 กลับสั่งให้ จำเลยที่ 1 ทำขึ้นอีกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล กำแพงพิพาท เป็นเหตุขัดข้องไม่ให้มีผู้ใดซื้อหรือเช่าตึกแถวในที่ดินของโจทก์ทั้ง จำเลยที่ 3 เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์ก่อนจึงจะรื้อกำแพง พิพาท ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 เป็นการใช้สิทธิของตน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรหรือคาดหมาย ไว้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์มีอำนาจฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ซึ่งมีจำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ทำสัญญาขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแก่โจทก์ ๑ เครื่อง โดยรับประกันว่าหากเกิดความชำรุดบกพร่องหรือขัดข้องเนื่องจากการใช้งานตามปกติภายใน ๑ ปี นับแต่วันส่งมอบ จะจัดการซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้รับแจ้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ภายใน ๓๐ วัน จำเลยที่ ๓ ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาโดยยอมรับผิดในวงเงิน ๗,๗๐๐ บาท ต่อมาหลังจากส่งมอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดชำรุดขัดข้องใช้การไม่ได้ โจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ ๑ แล้ว จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์จึงจ้างบุคคลภายนอกซ่อมเป็นเงิน ๑๘,๖๐๐ บาท ขอให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี จำเลยที่ ๓ ต้องร่วมรับผิดชำระเงิน ๗,๗๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน ๑ ปี คดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ชำระเงินแก่โจทก์ตามวงเงินที่ค้ำประกัน โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ ๓ ศาลชั้นต้นอนุญาต
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๗๔ พิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑๐,๙๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครี่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้โจทก์ และได้ส่งมอบนำไปติดตั้งให้โจทก์ใช้งานที่โรงพยาบาลขุนยวม เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม๒๕๒๗ ต่อมาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดขัดข้องใช้งานไม่ได้ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๗แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทำการแก้ไข จำเลยที่ ๑ ทำการแก้ไขไม่สำเร็จ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๘โจทก์จึงว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขจนใช้การได้ เสียค่าใช้จ่าย ๑๘,๖๐๐ บาท จำเลยที่ ๑และที่ ๒ ฎีกาว่า ตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตกอยู่ในบังคับแห่งป.พ.พ. มาตรา ๔๗๔ โจทก์ฟ้องเกิน ๑ ปี นับแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๗ ซึ่งโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่อง คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า การซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารายนี้มีการรับรองคุณภาพสินค้าไว้เป็นพิเศษ มิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็แสดงแจ้งชัดว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้ค่าซ่อมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกไปตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่ให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในความชำรุดบกพร่องของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือที่มีอยู่ก่อนแล้วในวันส่งมอบ ตามที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดขัดข้องเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๒๗ เป็นเวลาภายหลังจากมีการส่งมอบและโจทก์ได้ใช้งานตามปกติแล้วถึง ๒ เดือน ตามคำฟ้อง และข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ธรรมดาซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๗๔ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ให้จำเลยที่ ๑ รับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้น ไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ ๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๖๔ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.
Dika No. 2858/2535 Mae Hongsorn Province Plaintiff
Ramagress Partnership and et al Defendants
Applicable Law: Civil and Commercial Code (“CCC”) Section 164, 474
Summary
Plaintiff filed a plaint, under the warranty term in the contract, against the Defendant claiming for payment of the repairing cost or damages that the Plaintiff sustained. The Plaintiff’s cause of action was not grounded from liability in the defect of the sold goods, which is barred by 1-year period prescription (or statute of limitation). No laws specify a prescription for special terms of the contract. In this case the general prescription of 10-year period pursuant to Section 164 of the CCC shall be applied. The Plaintiff’s plaint shall then not be barred by prescription.
-----------------------------
The Plaintiff filed a plaint alleging that First Defendant, by the Second Defendant as it’s managing partner, has entered into the contract to sell an electrical generator to the Plaintiff. Under a warranty clause there specified that should there occurred any defect or malfunction during a normal usage within 1 year from the delivery date, the Defendant shall arranged to have the generator repaired into good condition within 15 days after the receipt of notification without additional charge being incurred. Failure to comply with such obligation, the Defendant agrees to pay the Plaintiff for any damages incurred within 30 days.
The Third Defendant had entered into a guarantee contract with the Plaintiff guaranteeing the payment of damages on behalf of the First Defendant that arise from it’s performance under the sale contract within the amount of 7,700 Thai Baht.
Later on, the electrical generator had been delivered to the Plaintiff, thereafter it broke down and was not in condition for operation. The Plaintiff notified the First Defendant but the First Defendant fail to provide timely response. The Plaintiff therefore hired a third party at the cost of 18,600 Thai Baht to have the electrical generator repaired. The Plaintiff request the Court to enter into judgment ordering the First and the Second Defendant to compensate the Plaintiff for such amount of money and interest at rate of 7.5 % per annum and ordering the Third Defendant to be jointly liable for such payment in the amount of 7,700 Thai Baht with interest.
The First and the Second Defendant filed an answer contenting that the Plaintiff filed its plaint after 1-year period of prescription, thus the Plaintiff’s case is barred by prescription. The Plaintiff requested for its dismissal.
The Third Defendant paid the Plaintiff for the guaranteed amount of money. The Court of First Instance granted the Plaintiff’s withdrawal of its plaint against the Third Defendant.
The First and the Second Defendants were in default of appearance on trial.
The Court of First Instance enters into judgment deciding that the Plaintiff’s plaint is barred by 1-year prescription and have the Plaintiff’s plaint dismissed.
The Plaintiff appealed to the Court of Appeal
The Court of Appeal reverse the judgment of the Court of the First Instance and ordered the First and the Second Defendants to be jointly liable in paying the Plaintiff for the amount of 10,900 Thai Baht with interest at the rate of 7.5% per annum calculating from the date of filing up to the date that payment is made in full.
The First and the Second Defendants filed an appeal with the Dika Court (Supreme Court).
The Dika Court has decided that the fact was established that the First Defendant sold and delivered an electrical generator to the Plaintiff with installation at Kun Youm Hospital on 3 July B.E.2527 (A.D. 1984). Afterwards, the generator broke down and was not in condition for operation. The Plaintiff notified the First Defendant to repair it by the letter dated 22 October B.E.2527 but the repairing was not succeeded. On 29 October B.E. 2528 (A.D. 1985), the Plaintiff hired a third party to repair the defective generator until being in operation at the cost of 18,600 Thai Baht. The First and the Second Defendant appealed that the Defendant claimed for liability for defect under Section 474 of the CCC., and that the Plaintiff filed its plaint to the court after 1 year from the date the Plaintiff found the defect on 22 October B.E.2527. Thus, the Plaintiff’s claim is barred by that prescription. The Dika Court considered that the sale of the generator in this case contained a special warranty for the goods which was not an ordinary sale. In addition, Plaintiff’s plaint obviously stated that the Plaintiff claimed against the First Defendant to be liable for the repairing cost paid to the third party under the warranty agreement in the sale contract. The Plaintiff did not claim for defect liability existed at the time of contracting or before the delivery date, as the Plaintiff produced evidence that the generator was malfunction in September B.E. 2527, which was after the delivery to the Plaintiff and the Plaintiff had normally used it for 2 months. Thus, pursuant to the Plaintiff’s plaint and the mentioned fact, the Plaintiff was exercising its right to claim against the First Defendant under the warranty agreement in the contract for the cost of repair or damages incurred by the Plaintiff. The Plaintiff did not exercise its right to claim against the First Defendant on a general liability for the defective goods under Section 474 of the CCC which has the prescription of 1-year period. No prescription is provided for Plaintiff’s claim under the special agreement of the contract as aforementioned. As a result, the claim is under general prescription of 10-years period pursuant to Section 164 of the CCC. The Plaintiff’s claim, therefore, is not barred by the prescription. The judgment of the Second Regional Court of Appeal is correct. The appeal of the First and the Second Defendant was irrelevant.
Judgment confirmed.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น